Wednesday, December 30, 2015

Water Hyacinth: the Royal alien species


If you’re traveling by boat in Bangkok, you can see numerous water hyacinths spreading in canals and rivers. Water hyacinth is a threatening species to Thailand’s ecosystem for hundred years. Its magnificent reproductive power can covered its habitat within a few months, letting other hydro species unable to reproduction and extinct. Its thick brush cause oxygens are hard to dissolve in water and the corpses are sunken in the habitat, resulting in polluted water. However, this disastrous plant is not the native species in Thailand. It is the alien species introduced to our country by the Royal family. 

Water hyacinth or Eichhornia crassipes (its species name means “thick foots”, referring to its succulent stems & roots) is originally native to South American region. It was firstly introduced to South East Asia in late 19th century by the Hollanders who rule over Java (now is Indonesia). In Thailand, water hyacinth was firstly imported in around year 1896 by the order of Queen Saovabha Phongsri of King Rama V when they were going to Java. Queen Saovabha Phongsri happened to like the beautifulness of water hyacinth’s inflorescent that resemble to the orchid. Water hyacinths were then firstly planted in Thailand at Phayathai palace and they were successively cultivated. After that, Queen Saovabha Phongsri had an order to planting water hyacinth outside the palace, starting from Samsen canal behind the Phayathai palace, in order to “ to let commoners have a chance to see its beauty”, and the story begun.

Water hyacinth inflorescent (Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Eichhornia_crassipes)

Not so long after the spreading of water hyacinth outside the palace, this plant became the nuisance to local people especially the ones who travel via canal or river. King Rama V had a speech in year 1908, twelve years after the first arrival of water hyacinth in Thailand, mentioned that the water hyacinth was “very dangerous”. In 1910, water hyacinth was introduced in the first agricultural festival in Thailand as “a dangerous & useless plant that everyone should eliminate”. Although in the era of king Rama VI had established the law of eliminating water hyacinth, it wasn’t successful until today. 

Nowadays, water hyacinth once known as the beautiful gift from the queen, are well-known as the disastrous alien species.

ผักตบชวา: alien species พระราชทาน

ในสมัยที่ผมยังทำงานที่โรงพยาบาลศิริราชนั้น จำเป็นที่จะต้องนั่งเรือข้ามฟากเพื่อไปทำงานอยู่เสมอ ทุกครั้งที่นั่งเรืออยู่นั้น ก็จะเห็นผักตบชวาลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา มากบ้างน้อยบ้างอยู่เสมอ ไม่เคยเลยที่จะไม่เห็นผักตบชวาลอยอยู่สักครั้ง ผักตบชวานี้ถือเป็นพืชที่ก่อปัญหาทางน้ำตัวสำคัญในไทย ด้วยความสามารถในการแพร่พันธุ์ของมัน ทำให้ลำน้ำที่มันงอกเงยอยู่นั้นเต็มพรืดไปด้วยผักตบชวาภายในเวลาไม่นาน เบียดบังพืชน้ำอื่น ๆ ให้ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้จนตายสูญไปหมด นอกจากนั้นพุ่มใบที่ดกหนาของผักตบชวายังทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถผ่านลงมาในน้ำได้ บวกกับซากเน่าเปื่อยที่หล่นร่วงลงไปในน้ำ จึงทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสียไปตาม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้หลาย ๆ คนอาจนึกไม่ถึงว่าแท้จริงแล้วผักตบชวาไม่ใช่พืชท้องถิ่นของไทย แต่เป็นพืชต่างถิ่นที่มาเติบโตแย่งชิงถิ่นที่อยู่ของพืชท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่า alien species นั่นเอง

ผักตบชวาหรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eichhornia crassipes นั้นแต่เดิมเป็นพืชท้องถิ่นในแถบอเมริกาใต้ พืชชนิดนี้ถูกนำเข้ามายังแถบเอเชียอาคเนย์ในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวฮอลันดาที่ปกครองอาณาเขตชวาอยู่ในขณะนั้น พืชชนิดนี้ถูกนำเข้าไทยมาในราวปี พ.ศ. 2439 ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสชวาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ได้ทอดพระเนตรเห็นดอกผักตบชวาแล้วนึกชมชอบในความงามของช่อดอกที่มีสัณฐานคล้ายกับกล้วยไม้ของไทย จึงมีรับสั่งให้นำกลับไปทดลองปลูกที่เมืองไทยด้วย โดยได้ทดลองปลูกผักตบชวาเป็นครั้งแรกในวังพญาไท ผลการทดลองนั้นพบว่าผักตบชวาสามารถเติบโตแพร่พันธุ์ได้ดี จึงมีดำริให้นำพันธุ์ผักตบชวานั้นปล่อยลงตามคลองนอกวัง โดยเริ่มจากคลองสามเสนเป็นแห่งแรก เพื่อที่ประชาชนทั่วไปจะได้ยลความงามของดอกผักตบชวาเยี่ยงเหล่าเจ้านายด้วย

ดอกผักตบชวา (แหล่งที่มา:https://en.wikipedia.org/wiki/Eichhornia_crassipes)

ชั่วเวลาไม่นาน ผักตบชวาที่เคยเป็นที่นิยมชมชอบก็กลับเปลี่ยนสถานะเป็นภัยต่อสังคม ดังในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีรับสั่งถึงผักตบชวาเป็น “ของร้ายกาจมาก” ในปี พ.ศ. 2543 ผักตบชวาจึงได้รับการแนะนำให้ประชาชนทั่วไปรู้จักในฐานะของ “พืชอันตรายไร้ประโยชน์ที่ต้องช่วยกันกำจัด” ถึงแม้ในสมัยรัชกาลที่ 6 จะมีการออกพระราชบัญญัติให้กำจัดผักตบชวาให้สิ้นซากก็ตาม ผักตบชวาก็ยังคงเหลือรอดตกทอดมาเป็นมรดกจนถึงทุกวันนี้


จากที่ครั้งหนึ่ง ผักตบชวาเป็นที่รู้จักกันในฐานะไม้ประดับแสนสวยที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงประทานให้ทุกผู้ชน แต่มาในวันนี้กลับเป็นที่รู้จักในฐานะ alien species ที่เป็นภัยแก่สิ่งแวดล้อมไปเสียแล้วนั่นเอง

Monday, November 23, 2015

The sorrow in Thai literatures: Jak

When I was young, I was raised at Samut Prakan province, my mother’s side hometown. My mother’s house was built in the degenerated mangrove forest area, which still remains some kind of plant that can see in mangrove forest like mangrove itself or mangrove apple (Sonneratia caseolaris). Nowadays, most of them are gone during the uprising of town and factory except nipa palm or in Thai Jak.

Jak or Nypa fruticans is the one and only palm species that can adapted to mangrove biome. It can be seen in mangrove forest, through south-eastern Asia to Australia and the southern part of Japan. In Thailand, this plant is used to made a sweet called “kanom Jak”, which is made from the sticky rice flour, ripe coconut flesh and coconut sugar. The ingredients are mixed and warped with Jak leaves before grilled until they’re cooked. The immature fruits, fresh or macerated in syrup, are also consumed as a snack.

Unripe fruits of Nipa palm, Samut prakan province.

Because the word “Jak” also means “depart” or “farewell” in Thai, this “Jak” tree is famous to use by the writers or poets in Thai literatures and folklores as the symbol to express the emotion of the characters when they are forced to depart with the one they loved. The masterpiece one is Enau,. Not only Jak tree was used to express the sadness of the character, but also Jak-prak, which is Thai name of ruddy shelduck or tadorna ferruginea.

Other famous plants used in the literatures to describe the sadness of the characters are Rakum and Sala. Both of them are also the member of Arecaceae family like Nipa palm and their name have synonym with the sadness-meaning words in Thai.

Sala or Salak in Malaysia and Indonesia, commonly known as “snake fruit”, has the scientific name of Salacca zalacca, which could be derived from the word Salak. Unlike Nipa palm, Salak has numerous long spikes on thepetioles. Salak is one of the economic plants in Indonesia due to its delicious fruits. The most famous cultivars are Salak pondoh from Yogyakarta province and salak Bali from Bali.

Rakum or Salacca wallichiana is closely resembled to Salak. The difference is easily observed from their fruits. Normally, Salak fruit is round-shape and has only one pulp while Rakum fruits is longer and might be divided to 2-3 pulps. However, because these two species is very close and can cross-breeding, the divided-pulp Salak can be found in the market in Thailand. Moreover, there is the hybrid of Salak and Rakum which the spike is absent. Thai farmers called it “Sakum”.



Since both Sala and Rakum have synonym to the sadness-meaning words (Sala in Thai means “sacrifice”, Rakum means “sorrow”) and they are closely resembled. Most literature and poem use both of them as the symbol to express the character’s grief.

อุปมาโวหารในวรรณคดีไทย: จาก


ในช่วงวัยเด็กของผมนั้น ผมอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากพื้นเพทางแม่นั้นเป็นคนพระประแดง ในละแวกบ้านเดิมในวัยเด็กของผมนั้นเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม ซึ่งยังพอเห็นร่องรอยของไม้ชายเลน อาทิลำพูหรือโกงกางอยู่บ้าง (ปัจจุบันได้อันตรธานไปหมดแล้ว) หนึ่งในไม้ชายเลนที่พบเห็นทุกครั้งที่ออกจากบ้านมาวิ่งเล่นหรือไปโงเรียนเสมอคือต้นจาก

ต้นจากหรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans เป็นพืชตระกูลปาล์มหนึ่งเดียวที่ได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นไม้ที่ขึ้นในป่าชายเลนได้ นอกจากในไทยแล้วยังสามารถพบได้ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอาคเนย์ บางภูมิภาคของอินเดีย หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกรวมไปถึงออสเตรเลียและหมู่เกาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ในไทยนั้นมีการนำต้นจากมาใช้ประโยชน์ในการทำขนมจาก ซึ่งเป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว มะพร้าวทึนทึก (หรือมะพร้าวแก่) และน้ำตาลมะพร้าวนวดผสมเข้าด้วยกัน ก่อนจะห่อด้วยใบจากแล้วนำไปย่างจนเกรียมส่งกลิ่นหอม อีกทั้งผลจากอ่อนที่ยังไม่แก่ก็สามารถบริโภคได้ มีรสสัมผัสหนึบและมีรสหวานอ่อน ๆ นิยมนำมาเชื่อมหรือทำลอยแก้วเพื่อเพิ่มรสหวาน

ผลจาก ถ่ายที่บางกระเจ้า จ. สมุทรปราการ

เนื่องจากคำว่า”จาก” ของต้นจากนั้น ไปพ้องเสียงกับคำว่า”จาก”ที่มีความหมายถึงการอำลาจากกัน จึงมีการนำต้นจากนั้นไปใช้ในการบรรยายพรรณาเปรียบเทียบกับการอำลาของตัวละครในวรรณคดีไทยอยู่เนือง ๆ หนึ่งในวรณคดีที่มีชื่อเสียงที่มีการใช้ “ต้นจาก” เป็นสัญลักษณ์ของการอำลานั้น คือเรื่องอิเหนา ดังปรากฏในบทชมดงตอนศึกกะหมังกุหนิง ที่มีการใช้พันธุ์พืชและพันธุ์นกที่มีนามพ้องกับศัพท์ที่มีความหมายถึงความเศร้าสลดของตัวละครเอกที่ต้องจากบ้านเมืองมาทำสงคราม

เมื่อพูดถึงต้นจากในความหมายทางวรรณคดีแล้ว ก็เห็นจะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงต้นระกำและต้นสละไปไม่ได้ ด้วยไม้ทั้งสองชนิดนี้ก็มีความหมายพ้องกับศัพท์ที่แสดงความโศกเศร้าสูญเสียเช่นกัน อีกทั้งพืชทั้งสองต่างก็เป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับต้นจาก เพียงแต่ต่างสกุลกันเท่านั้น

ต้นสละ หรือเรียกกันในมาเลเซียและอินโดนีเซียว่า Salak นั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salacca zalacca (ชื่อวิทยาศาสตร์น่าจะแผลงมาจากชื่อ salak ) เป็นพืชท้องถิ่นในแถบเอเชียอาคเนย์ จุดที่ต่างจากต้นจากชัดเจนคือต้นสละนั้นมีหนามแหลมคมตามก้านใบ สละจัดเป็นพืชเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย โดยเฉพาะสละปนเดาะห์ (salak pondoh) หรือที่รู้จักในไทยในนามสละอินโด ที่มีรสหวาน เนื้อแห้ง ส่วนสละยอดนิยมอีกพันธุ์ คือสละบาหลีน้ำตาลทราย (gula pasir) ที่กล่าวกันว่ามีรสหวานที่สุดในสละทั้งปวง

ต้นระกำหรือ Salacca wallichiana มีลักษณะคล้ายสละมาก จุดต่างที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือผล โดยผลของสละนั้นจะมีลักษณะเรียวยาว เนื้อในมักจะมีเพียง1-2 กลีบ ในขณะที่ผลของระกำนั้นมีลักษณะกลมป้านกว่า และเนื้อในอาจแบ่งได้ถึง 2-3 กลีบ อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม้ทั้งสองชนิดนี้อยู่ในสกุลเดียวกันจึงสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้ ทำให้สละในท้องตลาดปัจจุบันอาจพบเนื้อในแบ่งเป็น 2-3 กลีบได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบไม้ลูกผสมระหว่างสละและระกำ ที่ออกมาไม่มีหนามเลยอยู่ด้วย เรียกกันว่า สะกำ

เนื่องจากระกำและสละนั้นมีลักษณะคล้ายกัน อีกทั้งชื่อของทั้งสองต้นยังไปพ้องกับศัพท์ที่บ่งบอกความสูญเสียเศร้าโศกได้เหมือนกัน ในวรรณคดีจึงมักปรากฏการใช้คู่กันเสมอในบทพรรณนาความเศร้าของตัวละคร ดังในลิลิตตะเลงพ่ายที่มีการพรรณาความทุกข์โดยใช้ระกำและสละคู่กันนั่นเอง

Tuesday, November 10, 2015

Indian gooseberry: an Indian Elixir of Life


Around this time in Thailand is usually winter season, but not for this year. The rain is still pouring down, together with a slightly chill in the morning and extremely hot in the evening. As a pharmacist, I often face people coming to drug store due to the flu. One of the magnificent drugs used in flu and cough (in my private opinion) is the extract of Indian gooseberry, which used in dry cough.

Indian gooseberry or Phyllanthus emblica is called in India as amla or amalaka (the word “emblica” is derived from the word “amla”). This plant is worshiped as a panacea and famously used in Ayurveda medicine. In Hindu belief, Indian gooseberry is the sacred tree that the great god Vishnu resides in. Another legend informed that Indian gooseberry was born from the drops of Amrit, the Elixir of Life in Hindu belief. From its origin, no wonder why this plant was honored as the remedy for every kind of diseases and to extend the life.

In Buddhism, Indian gooseberry is one of the remedy that Sangha can eat in the night time (normally, they cannot eating after noon and dinner is prohibited). Legend said that this plant is the last gift that King Ashoka given to Sangha. Indian gooseberry also used as the material in many Buddhism architect, like the Alma-shape stupa in India or alma-shaping edge in Myanmar.


Alma shaping-edge stupa at Sein Nyet Nyima pagoda, Bagan, Myanmar


Indian gooseberry also plays a role in Doctor Jivaka Kumar Bhaccha’s history. Once upon a time, Doctor Jivaka Kumar Bhaccha has to cure the illness of one brutal king. The remedy including ghee, which is the king’s least favorite. With fury, the king summon royal page to capture Doctor Jivaka Kumar Bhaccha that already leaving from his city. When the page found him, Doctor Jivaka Kumar Bhaccha gave the Indian gooseberry to the page as the “greeting gift” and he ate it. The page then suddenly diarrhea from the effect of Indian gooseberry and unable to caught Doctor Jivaka Kumar Bhaccha, who returned to his hometown save and sound.


There is an Indian gooseberry puja ritual in the 11th of second lunar month. In that day, the participants are watering the Indian gooseberry tree and pray for their wealth and health. This day is marked as the beginning of Holi festival, which takes place four days after that. Indian gooseberry also play a role in Holi festival as the ingredient to make the yellow-colored powder used in the festival.

มะขามป้อม หยาดน้ำอมฤตแห่งอายุวัฒนะ

ช่วงนี้ตามปฏิทินแล้วถือว่าเป็นฤดูหนาว แต่ก็ยังคงมีฝนตกเป็นระยะ ๆ สลับกับอากาศเย็นในช่วงเช้า และร้อนตับแลบในช่วงบ่าย ตัวผมในฐานะเภสัชกรจึงมีคนไข้เป็นหวัดไม่สบายมาหาอยู่เนือง ๆ ซึ่งในบรรดายาแก้หวัดที่สามารถขายในร้านขายยาได้นั้น หนึ่งในยาที่มีพลานุภาพแก้ไอได้ฉะงัดนักคือมะขามป้อม โดยจะใช้เป็นยาช่วยให้ชุ่มคอแก้คันคอ เคียงคู่มากับมะแว้งที่ใช้เป็นยาขับเสมหะ

มะขามป้อม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus emblica ในอินเดียเรียกกันว่าต้นอัมลา หรืออามลกะ (อ่านว่า อา-มะ-ละ-กะ) (คำว่า emblica ในชื่อวิทยาศาสนตร์ของมะขามป้อมนั้น คาดว่าน่าจะแผลงมาจากคำว่าอัมลา หรือ amla)จัดเป็นหนึ่งในเครื่องยาที่มีการใช้ในศาสตร์แห่งอายุรเวท ได้รับการยกย่องว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่รักษาได้ทุกโรค ที่มานั้นเนื่องมาจากตำนานในศาสนาฮินดู ที่นับถือมะขามป้อมว่าเป็นต้นไม้ประจำตัวของพระวิษณุหรือพระนารายณ์

อีกตำนานหนึ่งนั้นระบุว่าต้นมะขามป้อมมีกำเนิดมาจากหยาดน้ำอมฤตที่หยดลงมายังพื้นโลกโดยบังเอิญ ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียจึงถือกันว่ามะขามป้อมนั้นเป็นยาวิเศษที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้นานาประการ และยังเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยยืดอายุขัยออกไปได้อีกด้วย 

ในพุทธศาสนาแล้ว มะขามป้อมถือเป็นหนึ่งในผลเภสัช หรือผลไม้ที่เป็นยา ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันในยามวิกาลได้ อีกทั้งยังกล่าวกันว่าเป็นสิ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ถวายแก่เหล่าภิกษูสงฆ์เป้นสิ่งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน มะขามป้อมจึงถูกนำมาใช้เป็นแบบในการสร้างสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาหลายอย่าง อาทิเจดีย์ทรงมะขามป้อมครึ่งซีกที่อินเดีย หรือเจดีย์ที่ยอดปรางค์ทำเป็นทรงมะขามป้อมในพม่า เป็นต้น



เจดีย์เสียนเยียต ยีมา ที่ยอดปรางค์ทำเป็นทรงมะขามป้อม (ถ่ายที่พุกาม ประเทศพม่า)
มะขามป้อมยังปรากฏในพุทธชาดก ในส่วนของประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์ กล่าวคือครั้งหนึ่งหมอชีวกฯ ได้ถวายการรักษาแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ด้วยการให้เนยใสซึ่งพระองค์ทรงเกลียดชังนักโดยการปรุงแต่งกลิ่นรสกลบเสีย เมื่อถวายเสร็จก็กลัวพระเจ้าแผ่นดินจะพิโรธหากจับได้ว่าสิ่งที่เสวยเข้าไปคือเนยใส จึงรีบเดินทางออกจากเมื่อ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อจับได้ว่าโอสถนั้นเป็นเนยใส ก็สั่งให้มหาดเล็กไปตามหมอชีวกฯ กลับมารับโทษฐานหลอกลวง เมื่อมหาดเล็กเดินทางมาพบ หมอชีวกฯ ก็ทำอุบายเชื้อเชิญให้กินมะขามป้อม โดยตนกินให้ดูก่อนเพื่อให้เห็นว่าไม่มีพิษใด ๆ แต่ซีกที่หมอชีวกฯ กินนั้นได้แทรกยาต้านฤทธิ์ลงไปก่อน เมื่อนายมหาดเล็กกินมะขามป้อมซีดที่ไม่ได้แทรกยาลงไปก็เกิดการถ่ายท้องลง ณ ตรงนั้นจนไร้เรี่ยวแรง สุดที่จะจับตัวหมอชีวกฯ กลับไปได้ หมอชีวกฯ จึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพดังนี้แล

นอกจากในพุทธกาลปัจจุบันนี้แล้ว มะขามป้อมยังจัดเป็นต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าในกาลก่อน นามว่าพระปุสสพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้สำเร็จพระโพธิญาณอีกด้วย

ในอินเดียจะมีประเพณีการบูชาต้นมะขามป้อมในวันขึ้น 11 ค่ำเดือน 2 โดยในพิธีนั้นจะมีการรดน้ำต้นมะขามป้อมและสวดมนต์ขอพรให้มีสุขภาพดีและอายุยืน พิธีการบูชาต้นมะขามป้อมนี้ถือเป็นวันบอกการเริ่มต้นของเทศกาลสาดสี หรือ Holi festival อีกด้วย มะขามป้อมเองยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผงสีเหลืองที่ใช้สาดในเทศกาลอีกด้วย จะเห็นได้ว่ามะขามป้อมนั้นแทรกซึมอยู่ในสังคมอินเดียจริง ๆ ครับ

Sunday, October 4, 2015

What type of wood is a material of "red Chan monk's bowl" in the Buddha history?



In “Mango in the Buddha history”, I mentioned about Yamaka Parihariya, which occurred after the Buddha forbid all sangha to perform the supernatural power. The origin of this forbidden is caused by the sangha name Pindola Bhāradvāja shows the miracle to receive the monk’s bowl made from “red Chan wood”. After I finish that work, I wonder that what kind of wood that made this monk’s bowl because all Chan wood in Thailand (Mansonia gagei) is not red! In fact, its color is yellow to light brown.

So, what exactly is the wood made the mentioned monk’s bowl?

There are some plants in Indian continent that also called “Chan” in Thailand although they aren’t Mansonia gagei. One of them is the sandalwood or Santalum album, an endangered species originated from South India continent. This plant is the main source of sandalwood oil production, of course it contains strong fragrant. However, like Mansonia gagei, its wood is not red but white to light brown like its name (A’bum means “white”). This plant could not be the “red Chan wood” in the Buddha history.

Another plant that looks resemble to the sandalwood is red sandalwood or Pterocarpus santalinus (santalinus means “like the sandalwood”). Unlike the “true” sandalwood, this plant has no fragrant. Red sandalwood is close to Burma Padauk (Pterocarpus macrocarpus), which is the national flower of Myanmar. Because the red sandalwood has reddish heartwood, this plant might be the “red Chan wood” mentioned in the Buddha history and might be the material for mentioned monk’s bowl.

Is there any Chan plant in Thailand that has red heartwood? The answer is “Yes!” Some Dracaena species in Thailand can produce red heartwood when attacked by the fungi. This infected wood is used in traditional medicine to lower all kind of fever. This infected might be the candidate of the “red Chan wood” in the Buddha history.



Moreover, the sap released from Dracaena plants is also red. This sap is the material to produce the famous folk medicine known as “Dragon’s blood”, which is used as an ultimate remedy mainly treated in respiratory and gastrointestinal diseases.

"บาตรไม้แก่นจันทน์แดง" ในพุทธประวัตินั้น ทำจากไม้ชนิดใดกันแน่?

ในคราวที่เขียนเรื่อง “มะม่วงในพุทธประวัติ” นั้น ได้กล่าวถึงการทำยมกปาฏิหาริย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีที่มาจากการที่พระปิณโฑลภารทวาชได้กระทำปาฏิหาริย์จนชาวเมืองโจษจันกันนั้น ได้มีการกล่าวถึงบาตรที่ทำจากไม้จันทน์สีแดงดั่งครั่ง ไว้ เมื่อย้อนกลับมาดู ก็ให้สงสัยว่า บาตรเจ้าปัญหาลูกนั้น ทำจากไม้จันทน์จริงหรือ เพราะไม้จันทน์ในไทยนั้น มีสีออกเหลืองนวล ไม่ใช่สีออกโทนแดงแม้แต่น้อย และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสีแดงก่ำดั่งปรากฏในพุทธประวัติ

ถ้าเช่นนั้น บาตรไม้แก่นจันทน์แดง ที่ว่านั้น ทำจากไม้อะไรกันแน่? ปัญหานี้ต้องย้อนกลับไปดูพรรณไม้ในแถบภูมิภาคอินเดีย เวทีแห่งเรื่องราวในพุทธประวัติ

จากการสืบค้นดู พบว่าในแถบภูมิภาคอินเดียนั้น มีพรรณไม้ที่เรียกขานกันในไทยว่าจันทน์ ที่มิใช่พันธุ์เดียวกับไม้จันทน์ ของไทย หรือ Mansonia gagei อยู่เช่นกัน ไม้ชนิดนั้นคือ sandalwood หรืออาจกล้อมแกล้มเรียกในชื่อไทยได้ว่าจันทน์หอม sandalwood มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดียใต้ ปัจจุบันพบได้ในแถบออสเตรเลียทางเหนือเช่นกัน ในอดีตถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำมันจันทน์หอม หรือ sandalwood oil ปัจจุบันจัดเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ที่รัฐบาลอินเดียเป็นผู้ควบคุมการปลูกและจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (แน่นอนว่ามีการบักลอบตัดกันอยู่เนือง ๆ ) อย่างไรก็ตาม ไม้ชนิดนี้มีสีออกไปทางขาวนวลดังที่ระบุไว้ในชื่อ (album ในภาษาละตินหมายถึงสีขาว) จึงไม่น่าจะใช่ “ไม้แก่นจันทน์แดงดั่งครั่ง” ที่ระบุไว้ในพุทธประวัติเช่นกัน

ทั้งนี้ ในอินเดียนั้นยังคงมีไม้สกุลอื่น ๆ ที่เรียกกันว่า sandalwood อยู่ด้วย ไม้ชนิดนั้นคือ red sandalwood หรือในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus จากชื่อก็บ่งบอกว่าไม้ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับ sandalwood มาก (santalinus แปลว่ามีลักษณะคล้าย sandalwood) ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ red sandalwood ไม่มีกลิ่นหอม ไม้ชนิดนี้เป็นญาติใกล้ชิดกับประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ที่เป็นไม้สัญลักษณ์ประจำประเทศพม่าอีกด้วย

เนื่องด้วย red sandalwood มีเนื้อไม้สีแดงก่ำ (รวมไปถึงต้นประดู่ป่าด้วย) ประกอบกับในพุทธประวัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่า”ไม้แก่นจันทน์แดงดั่งครั่ง” นั้นมีกลิ่นหอมหรือไม่ จึงอาจเป็นไปได้ว่า บาตรไม้จันทน์แดง เจ้าปัญหาที่เป็นที่มาของการบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ทำจากไม้ red sandalwood หาใช่ไม้จันทน์ที่คนไทยรู้จักไม่ครับ

แล้วในไทยนั้น ไม่มี “ไม้แก่นจันทน์แดง” อยู่บ้างเลยหรือ คำตอบคือ มีครับ ในไทยนั้นมีไม้ในสกุลจันทน์ผาอยู่ (สกุล Dracaena) ไม้ชนิดนี้เมื่อโดนเชื้อรากินเนื้อไม้จากสีน้ำตาลนวล จะกลับกลายเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอมขึ้นมา (คล้ายกับ “ขอนดอก” ที่เกิดจากแก่นพิกุลโดนรากิน) ในตำรายาไทยจะใช้แก่นจันทน์แดงนี้เป็นยาแก้พิษไข้ทุกชนิด เมื่อคำนึงจากเรื่องราวในพุทธประวัติทีว่า บาตรแก่นจันทน์แดงนั้นทำจากไม้จันทน์ที่ลอยตามน้ำมา ก็อาจเป็นไปได้ว่าบาตรแก่นจันทน์แดงนั้นอาจทำจากไม้จันทน์ผา ซึ่งระหว่างที่ลอยตุ้บป่องมานั้น เชื้อราได้กัดกินจนไม้จันทน์ผานั้นกลายเป็นสีแดงแล้วได้เช่นกันครับ

อนึ่ง ไม้ในสกุลจันทน์ผาบางชนิดนั้นมีน้ำเลี้ยงสีแดงดั่งโลหิต ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต “โลหิตมังกร” มาแต่ครั้งโบราณ อันว่าโลหิตมังกรนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาแก้สรรพโรคาในตำรายาพื้นบ้านของทั้งทางจีนและอินเดีย โดยจะเน้นรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารเป็นหลักครับ 



Saturday, September 26, 2015

Sweet osmanthus, the secret of beauty from the moon


Because tomorrow (27 Sep 2015) is Moon Festival Day, I’d like to talk about the plants that play a major role in this festival

One of the important plants in Moon Festival (or Mid-Autumn Festival) is sweet osmanthus of Osmanthus fragrans. Its scientific name is clearly described that its flower (Anthos) is fragrant (Osma). Sweet osmanthus has Chinese name as “Guihua”, which means fragrant flower. Since this plant is a member of Oleaceae family - the olive family, it also known as tea olive or fragrant olive. 

Sweet osmanthus is a native plant in East Asia continent, can be found from Himalaya through China, Taiwan and Japan. In Thailand, it can be naturally found only in Chiang Mai province.

Sweet osmanthus was used for beauty since the ancient era. They were mixed in food, drink and cosmetics. It also was traditionally use as herbal tea to treat irregular menstruation. Recent study showed that the flower contains antioxidant and free-radical scavenging activities. It is honored in Taiwan as the sacred flower used in wedding ceremony.

In Chinese myth, sweet osmanthus was originally grown on the moon and it was the immortal tree. From this belief and the fact that sweet osmanthus is blooming in the mid-autumn; the same time of the Moon Festival, many Chinese people honored sweet osmanthus as the plant of the Moon Festival. During Moon Festival, the spirit mixed with sweet osmanthีs flower called cassia wine or Kuei Hua Chen Chiew is used as the symbol of the reunion. People often drink this spirit while watching the beautiful full moon.

Cassia wine or Kuei Hua Chen Chiew
Credit: https://en.wikipedia.org/wiki/File:Chinesischer_Duftwein_Flasche.jpg

หอมหมื่นลี้ เคล็ดลับความงามจากดวงจันทรา

ในอีกไม่กี่วันจะถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ของชาวจีนกันแล้ว เลยขอเขียนเรื่องราวของดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกบยเทศกาลนี้สักหนึ่งเรื่องครับ

หนึ่งในพืชที่มีความสำคัญในเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นคือต้นหอมหมื่นลี้ หรือ กุ้ยฮัว ในภาษาจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osmanthus fragrans จากชื่อก็บ่งบอกถึงคุณสมบัติของพืชชนิดนี้ได้ดี คือ เป้นดอกไม้ (Anthos) ที่มีกลิ่นหอมกำจาย (Osma) พืชชนิดนี้อยู่ในวงศ์ Oleaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับมะลิ และมะกอกฝรั่ง (Olive) (ส่วนมะกอกไทยนั้นอยู่ในวงศ์ Anacardiaceae หรือวงศ์มะม่วง) พืชชนิดนี้พบกระจายตามแนวเทือกเขาหิมาลัยและทางตอนใต้ของจีนรวมถึงญี่ปุ่น ในไทยนั้นพบขึ้นอยู่ในธรรมชาติที่จังหวัดเชียงใหม่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ดอกหอมหมื่นลี้ถือเป็นดอกไม้ที่มีการใช้เพื่อประทิมความงามในวัฒนธรรมจีนมาแต่ครั้งโบราณ ทั้งนำมาผสมในอาหาร เครื่องดื่ม ชาและอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้ชาหอมหมื่นลี้เป็นยาพื้นบ้านในการรักษาภาวะประจำเดือนผิดปกติสตรีอีกด้วย ในไต้หวันนั้นนับถือดอกหอมหมื่นลี้ว่าเป็นดอกไม้มงคลแห่งการครองคู่ และถูกนำมาใช้ในพิธีแต่งงานของชาวไต้หวัน


ตามตำนานของจีนแล้ว ต้นหอมหมื่นลี้นั้นมีกำเนิดมาจากดวงจันทร์ เป็นไม้อมตะ ที่เมื่อถูกฟันถูกตัดแลวจะงอกใหม่ขึ้นมาทันที ด้วยความเชื่อดังกล่าวบวกกับดอกหอมหมื่นลี้นั้นจะบานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์พอดี จึงถือกันว่าหอมหมื่นลี้นั้นเป็นดอกไม้ประจำเทศกาลไหว้พระจันทร์ มีธรรมเนียมหนึ่งที่ปฏิบัติกันในพิธีไหว้พระจันทร์ คือการร่วมวงร่ำสุราหอมหมื่นลี้ หรือกุ้ยฮัวเฉินจิ้ว (ทำจากการผสมดอกหอมหมื่นลี้ลงในเหล้าขาว หรือเหล้ากลั่น (ไบจิ้ว) มีดีกรีอ่อนกว่าเหล้าขาวทั่วไปคือไม่เกิน 20 ดีกรี) เหล้าชนิดนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของการได้กลับมาพบหน้ากันใหม่อีกครั้งในปีนี้ จึงเป็นธรรมเนียมที่จะร่ำสุราชนิดนี้ไปพลางชมความงามของดวงจันทร์ไปพลาง ๆ ครับ

สุราหอมหมื่นลี้ หรือกุ้ยฮัวเฉินจิ้ว
(credit: https://en.wikipedia.org/wiki/File:Chinesischer_Duftwein_Flasche.jpg)

Sunday, September 20, 2015

Jujube and the truth behind the liberation of Siam

The entrance of the alley leading to my house used to be the deserted land, full of wild plants. Beside the entrance was a giant jujube tree, aged for decades. It was giving a shade for many people passing by or waiting for the bus, and was the habitat for many birds. Nowadays, that waste land is renovated to be some construction site. Of course, all wide plants are eliminated include that jujube tree. Now the birds have no home and the locals have to endure the sunlight while they’re waiting for the bus. The “development”, which destroys old ones to create new ones, is absolutely no “development” but “degeneration”.

It’s a big waste thing; including the historical fact that jujube is related to the liberation of old Thailand known as Siam. Now the Siam descendants easily destroy the symbol of liberation, which their ancestor created with their flesh and blood

Jujube or Ziziphus jujuba, also known as Chinese date due to the way Chinese people preserve it.
The ripe fruits are dried and seed detachment, giving the dark-reddish and wrinkle dried fruit the look resemble the dates. In Thailand, it is called “Put-shar”, which was derived from Sanskrit word “Patara”. This fruit is famous for using as blood tonic and diuresis.

Jujube took part in the liberation of Siam in the era of King Naresuan the Great of Ayutthaya Kingdom. In the book called “the statement of Kun Luang Ha Wat”, which is an annals told by one of Thai hostage in Bago, the former capital of Myanmar, informed that during the Elephant War, King Naresuan’s elephant is weaker than the elephant of Bago’s first prince (or Minyekyawswa) so he fled until he reached jujube tree. Using the tree to support his body, King Naresuan’s elephant fight back Bago’s elephant. King Naresuan, using this chance, killed the Bago’s first prince on his elephant’s neck and ending the Elephant War. This winning is the beginning of the liberation of Siam from the ruling by Bago.


The ElapHant War mural, Wat Suvandaram, Ayutthaya province
credit: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4f/WatSuvandaramMural.jpg

From this sentence, jujube was announced to be the important tree in Ayutthaya province. Nowadays, around 800 of jujube tree, cultivated since a hundred years ago, are preserved in the place called Jujube Historical Garden in Ayutthaya province.

However, do you mind, especially all patriotism, if I tell you that those mentioned statement is merely a folktale, because this book is partially fiction! Not the pure “historical fact”.

The truth is the book called “the statement of Kun Luang Ha Wat” is a copy version of the book in the Royal library called “The annals translated from Mon language” by a man name K.S.R. Kularb. Because copying the book of Royal library is forbidden and illegal in that time. Mr. K.S.R Kularb, fearing the law punishment, modified the information from the original book so he can claim that his copy wasn’t from the Royal book. The problem is, the modified information is massively incorrect from the truth. Even King Rama V had a speech about this book as “ridiculously confusion”. In the end, the government had to publish another copy of “the statement of Kun Luang Ha Wat” and named it “the statement of Kun Luang Ha Wat (Government version)” to correct the false information from K.S.R. Kularb’s version.

The detail in the Elephant War between King Naresuan the Great and Bago’s first prince in other annals is different from K.S.R. Kularb’s version of the statement of Kun Luang Ha Wat. For example, in the book named “the statement of the old capital’s people”, which published by the Government, informed that King Naresuan’s elephant fled into forest full of jujube trees and support his body with termite hill located in that forest. After fighting back the elephant of Bago’s first prince. King Naresuan found a chance and killed the first prince on his elephant’s neck, ending the Elephant War. This winning is the beginning of the liberation of Siam from the ruling by Bago.

Now we know the truth behind the liberation of Siam. So the jujube is the key item in the liberation or just the side dish, we let you to decide what you want to believe.



พุทรา กับเบื้องหลังการประกาศอิสรภาพของไทย

ที่ปากซอยบ้านผมนั้น เคยเป็นที่ดินรกร้างมีต้นไม้ขึ้นรกครึ้ม ตรงหัวเลี้ยวโค้งนั้นมีต้นพุทราใหญ่ต้นหนึ่ง อายุหลายปีแล้วต้นใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขามากมายคอยเป็นร่มเงาให้คนเดินถนนหรือคนที่ต้องยืนรอรถเมล์ มาบัดนี้ที่รกร้างนั้นแปรสภาพถูกถมไถกลบ เตรียมก่อสร้างเป็นอะไรสักอย่างที่ไม่น่าทัศนานัก แน่นอนว่าต้นพุทราใหญ่ต้นนั้นก็ถูกตัดโค่นลงด้วยเช่นกัน ทุกวันนี้คนเดินถนนไร้ร่มเงาไว้คอยบังแดด นกกาต่างไร้ร่มไม้ไว้คอยพักพิง การพัฒนาที่ทำลายสิ่งเก่าเพื่อสร้างสิ่งใหม่นี่ช่างได้ไม่คุ้มเสียจริง ๆ ครับ

คิดไปแล้วก็น่าเสียดายพุทราใหญ่ต้นนั้นมิใช่น้อย เพราะพุทรานั้นเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการประกาศอิสรภาพของแผ่นดินสยามมาแต่ครั้งโบราณกาลเลยทีเดียว

พุทรานั้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ziziphus jujuba มีชื่อสามัญว่า jujube หรือ Chinese Date หรืออินทผลัมจีน เนื่องจากในเมืองจีนจะนำผลพุทราที่สุกแดง คว้านเมล็ดออกแล้วตากแห้ง ได้ออกมาเป็นวัตถุสีแดงคล้ำที่ผิวนอกเหี่ยวย่นมีลักษณะคล้ายกับอินทผลัม หรือที่เราเรียกกันว่าพุทราจีนนั่นเอง คำว่าพุทรานั้นดูจากรูปศัพท์บ่งบอกชัดเจนว่าไม่ใช่คำไทยดั้งเกดิม สันนิษฐานว่ามาจากคำภาษาสันสกฤต พทรก่อนจะเพี้ยนเป็นพุทรา (อ่านว่า พุ-ทะ-รา) จนกลายเป้นพุทรา (อ่านว่าพุด-ซา) ดังในปัจจุบัน

เหตุการณ์ที่ต้นพุทรามาเกี่ยวข้องกับการประกาศอิสรภาพของไทยนั้น ปรากฏในยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในเหตุการณ์อันลือเลื่อง คือศึกยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา ตามที่บันทึกในหนังสือเรื่อง “คำให้การขุนหลวงหาวัด” ระบุไว้ว่า พลายภูเขาทอง ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นมีขนาดตัวเล็กกว่าพลายพัทธกอ จึงชนสู้ไม่ไหวจนต้องล่าถอย ในระหว่างที่กำลังเพลี่ยงพล้ำอยู่นั้นเอง พลายภูเขาทองได้ถอยไปจนถึงถิ่นหนึ่งและได้อาศัยยันโคนต้นพุทราเพิ่มแรงชนจนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรได้ทีจึงฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์คาคอช้างทรง ณ ที่นั้นเอง

จิตรกรรมยุทธหัตถี วัดสุวรรณดาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา
credit: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4f/WatSuvandaramMural.jpg


หากเป็นเยี่ยงนี้ก็ถือว่า ต้นพุทรานั้นถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทย และทำให้เมืองไทยเป็นเมืองไทยดังเช่นในทุกวันนี้ได้ สมควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ดังที่สวนพุทราประวัติศาสตร์ กรุงศรอยุธยา ก็ได้ทำการดูแลรักษาพุทราโบราณกว่า 800 ต้นไว้จนถึงปัจจุบันนี้

แต่ทว่า เหตุการณ์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้นเคยเกิดขึ้นจริงหรือ? ด้วยแท้จริงแล้วหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดนั้น เป็นเรื่องที่ถูกแต่งเติมเสริมจริงขึ้น!

จริง ๆ แล้ว หนังสือเรื่อง“คำให้การขุนหลวงหาวัด” นั้น เกิดจากฝีมือการคัดลอกจากหนังสือในหอหนังสือหลวง ชื่อ “พระราชพงศาวดารแปลจากภาษารามัญ” โดย นาย ก.ศ.ร. กุหลาบ ได้ลักลอบคัดลอกหนังสือพงศาวดารต่าง ๆ ในหอหนังสือหลวง ซึ่งในยุคสมัยนั้นถือเป็นการทำผิดกฎระบิลเมืองต้องอาญาหนัก นาย ก.ศ.ร. กุหลาบจึงได้คิดอุบายด้วยการแก้ไขสำนวน ปรับเติมข้อความแทรกลงไปให้ต่างจากต้นฉบับเพื่อจะได้อ้างได้ว่ามิได้คัดลอกไปจากของหลวง แต่ก็ทำให้เนื้อความนั้นคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมาก ถึงขนาดพระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีรับสั่งเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ว่า "พิสดารฟั่นเฝือเหลือเกิน" จนในภายหลังทางรัฐบาลต้องออกหนังสือแก้ในชื่อว่า “คำให้การของขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง”

เมื่อเทียบเนื้อหากับพงศาวดารอยุธยาอีกฉบับหนึ่ง ที่ออกโดยหอหนังสือหลวง ชื่อ “คำให้การชาวกรุงเก่า” ที่ต้นฉบับถูกส่งมาจากพม่าอีกทีหนึ่งนั้น เนื้อความในเหตุการณ์ยุทธหัตถีนั้นแตกต่างไปจากในฉบับขุนหลวงหาวัดอยู่ กล่าวคือในฉบับคำให้การชาวกรุงเก่านั้นระบุไว้ว่า พลายภูเขาทองกำลังน้อยกว่าจึงถอยร่นเข้าไปในป่าพุทรา แล้วยันตัวเข้ากับจอมปลวกหนึ่งในป่านั้นเป็นกำลังในการชนสู้กับพลายพัทธกอ สมเด็จพระนเรศวรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้างนั้นแล

เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทรานั้นเป็นสิ่งช่วยกู้เอกราชให้แก่สยามประเทศ หรือเป็นเพียงสิ่งที่ “สิ่งที่ช่วยกู้เอกราชให้สยามประเทศ” (คือจอมปลวก) ได้อาศัยอยู่เท่านั้น ก็ยากที่จะสืบหาความจริงในปัจจุบันนี้แล้ว



ส่วน “สัญลักษณ์แห่งอิสรภาพแห่งสยามประเทศ” ที่ปากซอยบ้านผมนั้นก็ได้อันตรธานปลาสสิ้นไปแล้ว หรือนี่จะเป็นสิ่งบ่งบอกว่าเมืองเรานั้นไม่เคยมีอิสรภาพที่แท้จริงมาตลอดกันแน่?

Friday, September 18, 2015

Mango in the Buddha history


I was earlier mention about the story of mango in Hindu religion. This time I’d like to talk about the story of mango in Buddhism, to prove that mango is indeed a part of Indian people’s life.

Mango is appearing as a part in many stories in Buddha history, but I’d like to show you just two major stories. The first one is about the Amphawan temple (the name means “mango garden”). Story was told that this temple was formed by Doctor Jivaka Kumar Bhaccha, the Ayurveda master and the personal doctor of the Buddha, also honored as the grandmaster of the Thai traditional medicine. After becoming Buddhism, Doctor Jivaka Kumar Bhaccha want to pay the respect to Buddha more often but the Buddha’s current place, Weruwan temple (the name means “bamboo garden”, also the first Buddhism temple in the history) was too far from his place to come by. So he built the temple in his mango garden, which was given to him by King Bimbisara, and give to Buddha and sangha. This place is also the place he healed Buddha‘s bruise occurred from the rock chip hitting his foot. In this present, the ruin of Amphawan temple is one of the places the Buddhisms around the world come to pay the respect to the Buddha.

Another mango-related Buddha story is about the Yamaka Patihariya, or the “twin miracle”. This story takes place after the Buddha forbidding all sangha to perform the supernatural power or Patihariya. In that time, the heretics gladly announced that they will challenge the miracle with the Buddha (because they thought that the Buddha cannot perform any miracle after he forbids all sangha to do). The Buddha accepted the challenge and said that he will perform the miracle at the mango tree on the full moon day of the eighth month or Asalha.

After hearing, the heretics uprooted all mango trees, so the Buddha hasn’t a place to perform the miracle. However, on the promising day, the Buddha went to king’s garden and met a man name Ganda, the king’s gardener. In that day, Ganda give the ripe mango fruit to Buddha instead of the king and the Buddha accepted. After finishing the fruit, the Buddha ordered Ganda to plant the mango seed in the king’s garden and he poured the hand-washing water into it. Miraculously, the seed was instantly grown to the mature tree full of ripe fruits. Then the Buddha performed the miracle called Yamaka Patihariya or the twin miracle. It was named from its appearance of opposite character in pair, for example, the Buddha produced the steam form his upper body part while produced the flame from his lower body part at the same time. After the miracle was finally done, the Buddha was going to heaven to perform Dharma to his mother, now born as the deva.

Buddha image in the posture of receiving the mango fruit,
 Krathum Suea Pla temple, On-nut, Bangkok

The story of Yamaka Patihariya was told and descended to this present, and now be shown in the religious art. One of the Buddha image called the posture of receiving the mango fruit, which has the image of Buddha sitting cross-legged with the left hand on the lap and the right hand is holding the mango fruit, has the inspiration from this story. This posture is one of the sixty-six official Buddha images in Thailand.

มะม่วงในพุทธประวัติ

ครั้งก่อนได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับมะม่วงในศาสนาฮินดูเอาไว้ ในครั้งนี้จึงอยากจะยกเรื่องราวของมะม่วงที่ปรากฏในศาสนาพุทธมาไว้สักหน่อย เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่ามะม่วงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอินเดียจริง ๆ ครับ

มะม่วงมีปรากฏในพุทธประวัติหลายครั้ง ในที่นี้จะขอยกมากล่าวไว้สัก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือสวนอัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูแห่งแพทย์แผนไทยได้ถวายเป็นที่พำนักแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าสงฆ์สาวกทั้งปวง ทั้งนี้ด้วยตัวหมอชีวกฯ นั้นมีดำริว่าตนนั้นปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าวันละ 2-3 ครั้ง แต่ติดตรงที่พระเวฬุวันมหาวิหารที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นที่พำนักนั้นอยู่ไกลจากที่พักของตน ไม่สะดวกแก่การเดินทางไปเฝ้านัก จึงดำริสร้างที่พักขึ้นในสวนมะม่วงของตนที่ได้รับพระราชทานมาจากพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อถวายเป็นราชฐานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงขนามนามสวนมะม่วงนั้นว่าชีวกัมพวัน อันแปลว่าอัมพวัน (หรือสวนมะม่วง) ของหมอชีวกฯ ที่แห่งนี้ยังเป็นที่ที่หมอชีวกฯ รักษาแผลห้อเลือดที่เกิดจากสะเก็ดหินกระเด็นต้องพระองค์อีกด้วย ปัจจุบันยังคงมีซากพระวิหารตั้งอยู่เป็นหนึ่งในพุทธสถานที่พุทธศาสนิกชนเดินทางมาสักการะ

อีกเรื่องหนึ่งที่มะม่วงปรากฏในพุทธประวัติคือเรื่องการทำยมกปาฏิหาริย์ สืบเนื่องมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุทั้งปวงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ (โดยต้นเหตุมาจากการที่พระปิณโฑลภารทวาชได้กระทำปาฏิหาริย์เหาะไปนำบาตรทำจากแก่นไม้จันทน์สีแดงดั่งครั่งลงมาจากยอดไม้ไผ่) ทำให้เหล่าเดียรถีย์ต่างได้ใจป่าวประกาศท้าแข่งอิทธิปาฏิหาริย์กับองค์พระพุทธเจ้า ด้วยสำคัญผิดว่าพระพุทธองค์ไม่สามารถแสดงปาฏิหาริย์ใด ๆ ต่อหน้าสาธารณชนได้อีก พระองค์จึงมีพระราชเสาวนีย์ตอบกลับไปว่า ตนจะแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง เมื่อเหล่าเดียรถีย์ได้ฟังดังนั้นจึงทำการโค่นต้นมะม่วงทิ้งทั่วเมือง เพื่อมิให้พระองค์มีที่ใช้แสดงปาฏิหาริย์

เมื่อถึงกำหนดวันแสดงปาฏิหาริย์ (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชา) พระองค์ทรงเสด็จออกบิณฑบาตเข้าเมือง ประจวบกับคนรักษาสวนของหลวงผู้หนึ่งชื่อนายคัณฑะได้นำผลมะม่วงสุกเข้าเมืองมาด้วยหมายใจจะนำไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้มาพบพระพุทธองค์ก็บังเกิดความเลื่อมใสจึงได้ถวายมะม่วงผลนั้นให้เป็นทานแด่พระองค์ เมื่อพระองค์เสวยมะม่วงเสร็จก็มีรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก ณ จุดที่พบกัน เมื่อพระองค์รดน้ำล้างพระหัตถ์ลงไปยังเม็ดมะม่วงที่เพิ่งเพาะ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์โดยเม็ดมะม่วงนั้นเติบโตเป็นต้นมะม่วงมีลูกสุกเต็มต้นในบัดดล ต้นมะม่วงนั้นได้รับนามว่าคัณฑามพฤกษ์ตามชื่อนายคัณฑะผู้ถวายมะม่วง หลังจากนั้นพระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นคัณฑามพฤกษ์นี้ ให้ชื่อว่ายมกปาฏิหาริย์ หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ เนื่องจากพระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน อาทิ เนรมิตสายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายส่วนบน พร้อมกับเนรมิตเปลวไฟออกจากพระวรกายส่วนล่าง เป็นต้น เมื่อพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์นี้เสร็จก็ทรงเสด็จสู่สวรรค์เพื่อโปรดพระพุทธมารดาต่อไป

พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง ถ่ายที่วัดกระทุ่มเสือปลา อ่อนนุช กรุงเทพฯ

เรื่องราวของการทำยมกปาฏิหาริย์นี้มีปรากฏออกมาเป็นพระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ และปางรับผลมะม่วง ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการทั้ง 66 ปางในปัจจุบัน นอกจากสองเรื่องข้างต้นแล้ว มะม่วงยังปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในชาดกและพุทธประวัติอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เกรงว่าบทความนี้จะยืดยาวเกินพอดี จึงขอจบเรื่องราวของมะม่วงในพุทธประวัติเอาไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ

Thursday, September 10, 2015

Mango, the sacred tree of love in Hindu

I mentioned about Kalasha puja ritual in “coconut story part IV” that I wrote earlier (Link here). As you can see, the mango leaves are used as a part of the ingredient in this ritual so this time I’d like to talk about the mango in Hindu culture.

Mango or Mangifera indica (Its scientific name imply the origin of this plant that come from India) has many local Indian names like Aam, Aamra or Amb. These words also mean “provision”, suggest that this plant play a major role as a primary food in India.

There is a record of mango appearing in Thailand since a long time ago. However, the word “Ma-muang" which is called mango in Thailand is believed that it’s not originally Thai language. This word might derive from Tamil words "Maagga" or "Maaggai", which is the name given to mango. The use of Maagga word to call mango also found in Indonesia, supporting the Maagga-derived -to-Mamunag theory.

In Hindu belief, mango is a plant represents to the KamaDeva, the god of love and desire. This Deva has a male figure with green-colored skin, has peacock as the vehicle. His personal arms is the bow which made from the sugar cane and bees as string. The arrows are made from the five types of flower: lotus, water lily, Ashoka (Saraca indica), Scented star jasmine (Jasminum adenophyllum), and mango. Since the former two flowers are also the symbol of the purity, this flowering arrow is implied that love is the purest feeling.


Mango flowers (Credit: https://en.wikipedia.org/wiki/Mango)

In India, mango is worshiped as the plant of love and marriage. In wedding ceremony, the holy water was sprinkled to the bride and the groom with the use of mango flower and leaves. The mango leaves are also used to make a decoration in wedding places.

Mango is also used in Hindu-related ceremonies and rituals in Thailand. One of the most important ritual is the Royal Coronation. During the coronation, mango leaves is used as “ward-off leaves”, to repel any dangerous occurring to the king. The “ward-off leaves” is made from three kinds of plants; one is the twenty-five mango leaves, to repel twenty-five types of natural-occurring hazard; another one is made from thirty-two leaves of Caricature plant (Graptophyllum pictum), to repel thirty-two types of punishment; the last one is made from ninety-six leaves of Indian prune (Flacourtia rukam), to repel the ninety-six types of illness. After the use, the “ward-off leaves” will dipped in honey and crude oil before burnt in the oven using jujube wood as the firewood.


มะม่วง ไม้ศักดิ์สิทธิ์แห่งความรักในศาสนาฮินดู

ในตอนที่เขียน “เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๔” ไปนั้น (ตามไปดูได้ที่นี่ครับ) ได้เอ่ยถึงการทำกลัศบูชาที่มีลูกมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้ใบมะม่วงในการทำพิธีบูชาด้วย ในครั้งนี้จึงขอเอ่ยถึงมะม่วงในศาสนาฮินดูสักเล็กน้อย

มะม่วงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mangifera indica จากชื่อก็บ่งบอกว่าไม้ชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากในแถบอินเดีย (indica) ชื่อท้องถิ่นในภาษาอินเดียของมะม่วงนั้นจะออกเสียงว่าอัม, อัมราหรืออัมพะ (aam,aamra, amb) ซึ่งนามนี้มีอีกความหมายหนึ่งว่าเสบียง

ในไทยนั้น ปรากฏว่ามีมะม่วงอยู่ในแผ่นดินสยามมานานแล้ว ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ความว่า "มีไรมีนามีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงป่าขามดูงาม" แต่ชื่อของมะม่วงนั้นสันนิษฐานกันว่ามิได้เป็นคำไทยแต่ดั้งเดิม แต่เป็นคำที่กร่อนเพี้ยนมาจากภาษาอินเดีย (ซึ่งตรงกันกับทฤษฎีที่ว่ามะม่วงนั้นมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากอินเดีย) 

เมื่อสืบดูคำเรียกมะม่วงในภาษาอินเดียถิ่นต่าง ๆ นั้นก็พบว่าในภาษาทมิฬจะเรียกมะม่วงว่า "มางกา" หรือ "มางไก" (maagga, maaggai) ซึ่งสันนิษฐานกันว่าต่อมาคำว่ามางกานั้นได้เพี้ยนตามสำเนียงชาวสยามจนกลายเป็นคำว่าม่วงไป ข้อสนับสนุนว่าภูมิภาคในแถบเอเชียอาคเนย์นี้รับนามของมะม่วงมาจากชื่อมางกามากกว่าจะเป็นอัมพะนั้น ดูได้จากคำเรียกมะม่วงในภาษาอินโดนีเซียที่เรียกว่ามางกาเหมือนกัน แต่มีอีกทฤษฎีหนึ่งระบุไว้ว่า เนื่องจากพืชชนิดนี้มีใบอ่อนสีออกม่วงจึงเรียกตามสีของใบว่ามะม่วง ซึ่งทฤษฎีใดจะถูกต้องนั้นก็เกินกว่าความสามารถของผมที่จะคาดเดาได้ครับ

มะม่วงนั้นถือเป็นหนึ่งในไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู โดยถือกันว่าเป็นไม้ประจำองค์กามเทพ ตามตำนานแล้วกามเทพของฮินดูนั้นปรากฎโฉมเป้็นบุรุษผิวกายเขียว ทรงนกแก้วเป็นพาหนะ มีอาวุธเป็นธนูที่ทำจากต้นอ้อย ใช้ผึ้งเป็นสายธนู ส่วนศรนั้นทำจากพรรณบุปผาห้าชนิด จึงได้นามว่าบุษปศร อันประกอบไปด้วยดอกบัวหลวง บัวสาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ มะม่วง อโศกและมะลิวัลย์ ซึ่งเป้็นเครื่องหมายของความรัก จึงเป้็นนัยยะว่าความรักนั้นนับเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์เช่นกัน


ช่อดอกมะม่วง (ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Mango)

ด้วยมะม่วงเป็นส่วนหนึ่งในบุษปศรนี้ ทางอินเดียจึงนับถือมะม่วงว่าเป็นไม้แห่งความรักและการแต่งงาน ในพิธีแต่งงานนั้น ส่วนหนึ่งของพิธีจะมีการใช้ช่อดอกมะม่วงจุ่มน้ำมนต์ประพรมให้แก่คู่บ่าวสาวกัน นอกจากนี้ยังใช้ใบมะม่วงทำเป็นซุ้มประตูในงานวิวาห์กันอีกด้วย

สำหรับการใช้มะม่วงในพิธีกรรมในประเทศไทยนั้น ใบมะม่วงถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือใช้เป็นหนึ่งในของใบไม้สมิทธิ 3 อย่าง ซึ่งใช้ในการปัดพระวรกายเพื่อเป็นการปัดเคราะห์ภัยต่าง ๆ ให้พ้นไปจากตัวพระองค์ อันใบไม้สมิทธินั้นประกอบไปด้วย ใบมะม่วง 25 ใบ แทน ปัญจสมหาภัย หรือภัยธรรมชาติ 25 ประการ ใบทอง 32 ใบ แทน ทวดึงสกรรมกรณ์ หรือภัยจากการทำร้ายร่างกายทั้ง 32 ประการ และ ใบตะขบ 96 ใบ แทน ฉันวุฒิโรค หรือโรคภัยทั้ง 96 ประการ โดยเมื่อทำการปัดพระวรกายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ผู้ทำพิธีจะนำใบไม้สมิทธินี้ขุบน้ำผึ้งและน้ำมันดิบก่อนนำไปเผาในเตาที่ใช้ไม้พุทราเป็นฟืนต่อไป 


Sunday, September 6, 2015

The rose apple from Kalapa city

In "the coconut story part II" (Link here), I mentioned about Kalapa city (currently Jakarta) that was famous from high-quality rose apple. So I would like to mention about this Kalapa rose apple and the rose apple species in Thailand.

The rose apple (called in Thai as “Chom-poo”) is a plant in genus Syzygium, which is a member of Myrtaceae family. There is a hypothesis that these Syzygium plants were firstly discovered in India continent before spreading to South-Easther Asia. The name Chom-poo in Thai is believed that was derived from the Java word “Jambu air” meaning rose apple. However, some say that this Java word also derived from the Indian words, due to the origin of the rose apple. In Marathi, rose apple is called “Jamb” and in Tamil is called “Champai”, both of them are sound resemble to Jambu word in Java.

At this present in Thailand, there are nine official “Chom-poo” species as follow:

Syzygium aksornae (in Thai “Chom-poo-ak-sorn”)

Syzygium anacardiifolium (in Thai “Chom-poo-krom”)

Syzygium aqueum or water rose apple

Syzygium formosum (in Thai “Chom-poo-nok)

Syzygium jambos or the rose apple

Syzygium malaccense or Malay apple

Syzygium pseudoformosum (in Thai “Chom-poo-nok-pak-tai”)

Syzygium samarangense or wax apple, Java apple

Syzygium siamense (in Thai “Chom-poo-nam”)

Noted that the rose apple is called in Hindi as “Gulab Jamun”, which is also the name of the Indian sweet. From the rounded-shape, color and flower-like fragrance of the sweet which is resemble to the fruit of rose apple, This sweet might originally made to mimic the rose apple fruit.

Flower of Malay apple, Bangna, Bangkok

In botanical fact, the current commercial rose apple species in Thailand are mainly developed from the Syzygium aqueum. For the Wasterner, the representations of “Chom-poo” species are mainly developed from the Syzygium samarangense species.

Since Syzygium samarangense has the habitat in Java (now Indonesia), the Kalapa rose apple is indeed this species.

At last, I’d like to talk more about one of my favorite fruit, Chpm-poo-phet.

Chomm-poo-phet is believed that is the mixed breed between Malay apple and Java apple. The first cultivated of this breeding is in the Era of King Rama IV. There is a record that King Rama IV gave the grafted branch of Chom-poo that growth in his place to a monk and he came to cultivated it at Phetchaburi province. Since the first cultivated place is at Phetchaburi province, this plant was given name Chom-poo-phet. Nowadays, Chom-poo-phet is one of the important economic plant in this province.

ชมพู่จากเมืองกะหลาป๋า

ในตอนที่เขียน "เรื่องของมะพร้าว" ตอนที่ 2 นั้น (ตามไปอ่านได้ ที่นี่ ครับ) ได้กล่าวถึงเมืองกะหลาป๋าที่ขึ้นชื่อในเรื่องของกระจก หมวกสาน และชมพู่ไว้ ในครั้งนี้จึงนำเรื่องชมพู่จากเมืองกะหลาป๋านั้นมาขยายเพิ่มเติมครับ

ชมพู่ เป็นพืชในสกุล Syzygium อยู่ในวงศ์ Myrtaceae สันนิษฐานกันว่าต้นกำเนิดของชมพู่นั้นมาจากในแถบคาบสมุทรอินเดีย ก่อนจะแพร่กระจายมายังภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในภายหลัง คำว่าชมพู่ในภาษาไทยนั้น สันนิษฐานกันว่ามาจากคำภาษาชวา "จัมบู" (Jambu air) ที่ใช้ในการเรียกชมพู่ในแถบชวาและมลายู แต่ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นกัน ว่าคำว่าจัมบูของชวานั้นก็อาจจะเพี้ยนมาจากภาษาในแถบอินเดียเช่นกัน โดยชมพู่ในภาษามราฐีนั้นออกเสียงว่าจัม (Jamb) ส่วนในภาษาทมิฬนั้นออกเสียงว่าชัมไป (Champai) ซึ่งทั้งสองคำล้วนออกเสียงคล้ายกับคำว่าจัมบูด้วยกันทั้งคู่

ในปัจจุบัน สายพันธุ์ชมพู่ที่พบในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากนักพฤกษศาสตร์มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 สายพันธุ์ ได้แก่

ชมพู่อักษร Syzygium aksornae

ชมพู่กลม Syzygium anacardiifolium

ชมพู่ป่า Syzygium aqueum 

ชมพู่นก Syzygium formosum

ชมพู่น้ำดอกไม้ Syzygium jambos 

ชมพู่สาแหรก Syzygium malaccense 

ชมพู่นกปักษ์ใต้ Syzygium pseudoformosum

ชมพู่แก้มแหม่ม  Syzygium samarangense 

ชมพู่น้ำ Syzygium siamense

โดยทางพฤกษศาสตร์แล้ว สายพันธุ์ชมพู่ที่บริโภคกันในปัจจุบัน ส่วนมากล้วนเกิดมาจากการกลายพันธุ์และพัฒนามาจากสายพันธุ์ของชมพู่ป่าเป็นหลัก ส่วนชมพู่ที่ชาวตะวันตกรู้จักกันดีนั้นจะพัฒนามาจากสายพันธุ์ของ Syzygium samarangense เป็นหลัก

ดอกชมพู่สาแหรก ถ่ายที่เขตบางนา กรุงเทพฯ

อนึ่ง ในภาษาฮินดีเรียกชมพู่น้ำดอกไม้ว่า "กุหลาบจามุน" (Gulab jamun) ซึ่งไปพ้องกับชื่อของขนมกุหลาบจามุนพอดี เมื่อพิจารณาจากรูปร่างของขนมที่เป็นทรงกลมและมีกลิ่นหอมของน้ำกุหลาบที่ไปพ้องกับลักษณะของผลชมพู่น้ำดอกไม้พอดี ก็อาจเป็นไปได้ว่าขนมกุหลาบจามุนนั้นมีที่มาจากการทำเลียนแบบรูปร่างและลักษณธของผลชมพู่น้ำดอกไม้นั่นเอง

แล้วชมพู่จากเมืองกะหลาป๋านั้นคือสายพันธุ์ใดในสายพันธุ์ข้างต้นกัน?

เนื่องด้วยชมพู่แก้มแหม่มหรือ Syzygium samarangense มีชื่อพ้องว่า  Eugenia javanica จากชื่อแสดงให้เห็นว่ามีต้นกำเนิดมาจากเมืองชวา หรือเมืองกะหลาป๋าที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์นั่นเอง ในปัจจุบัน ชมพู่กะหลาป๋าถูกจัดให้ถือว่าเป็นชื่อพ้องของชมพู่แก้มแหม่มนั่นเอง

ไหน ๆ แล้ว ก็ขอแถมท้ายด้วยเรื่องของชมพู่เพชร ของโปรดของผมสักเล็กน้อยแล้วกันครับ

ชมพู่เพชรนั้น คาดว่าเป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมกันระหว่างชมพู่กะหลาป๋า กับชมพู่สาแหรก ต้นตอของชมพู่เพชรนั้นสามารถสืบย้อนไปได้นานสุดคือสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการบันทึกว่ารัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานกิ่งพันธุ์ของบรรพบุรุษของชมพู่เพชรให้แก่ราษฎรไปเพาะปลูกกัน โดยชมพู่ทีพระราชทานนั้นเรียกกันในยุคนั้นว่าชมพู่เขียวเสวย (เนื่องจากผลแก่มีสีเขียวอ่อนเป็นหลัก) โดยชมพู่ชนิดนี้มีการนำมาปลูกนอกเขตพระราชฐานเป็นแห่งแรกที่ อ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี จึงได้รับการขนานนามว่าชมพู่เพชรด้วยเหตุนี้นี่เอง 



Thursday, September 3, 2015

Coconut story part IV - coconut in the rituals and ceremonies

Like I mentioned earlier that coconut is worshiped in India, so this plant is used in many rituals and ceremonies. In some northern continent of India, coconut is praised as Sriphala – the fruit of Sri the goddess of wealth. This believing can be found in the Indonesia, there is tradition custom in some region that the coconut water must be pouring into the land before farming or ploughing. By doing this, they believe that the rain will downpour enough for the plant growth.

Coconut is representing to the god Shiva, due to its three “eyes” on their skull that resemble to the three eyes of Shiva. In many Hindu rituals, includes Kalasha puja ritual, coconut is used as the marks of the Tridevs (Brahma, Shiva and Vishnu). The coconut used in Kalasha puja is said the object blessed by the Tridevs, so they’ll kept it in their household, for their house would be blessed all the time, until the next puja comes that the coconut form the previous use is offers to flowing in the river.


The arrangement in Kalasha Puja, the pot is filled with water and mango leaves, with the coconut on top
(picture from https://en.wikipedia.org/wiki/Kalasha)

Since the coconut is resemble the human head, the smashing of the coconut in Hindu means releasing the individual selfness and purifying their mind. The broken coconut also means the broken of any obstruction. Nowadays, this ritual is done before the starting of new business as a sign of break apart anything that would be holding back success.

Coconut is also used in the funeral, too. In many countries includes Thailand, coconut water is believed that is one of the most purify water, in the same of the water from Ganges the sacred river. The custom to use the coconut water to purify the dead bodies can be found in many countries in South and South-eastern Asia. Unlike other region, the funeral of Tamil people in some regions is carried by the bodies are smashed with the whole coconut fruits before burning to ash.

In Thailand, coconut is also used in the Royal Swimming Ceremony, a ceremony to purifying the body of the Royal family (and training them in the swimming). During the ceremony, the participating Prince is going into the water with a pair of germinated coconuts covered with golden and silver paper. The germinated coconut is the symbol of the growth and success, so the Prince with the coconut would growth and success in the future. The coconut also helps in floating, so the Prince would not be drown during the ceremony.

In Myanmar, the coconut is used as the offering to the Nat, the guardian spirit in Burmese culture. This plant is used to worshiping two head Nat, Nga Tin De and Shwe Myat Hla. This custom was started in the era of King Kyanzittha. The legend told that these two Nat were helping King Kyanzittha so much until he claimed the right over the throne. Respect from their help, King Kyanzhittha announced them as the Head of the Royal Nat and told his people to worship them with the coconut fruit. The offered coconut can use as a sigh to predict the health of people in the household when illness is happen. If the coconut water still full and the flesh still fresh, the illness will gone in the recent time with no serious damage. If the coconut water is dried, the illness will worsen. The new coconut offering should be replaced to prevent the worsening of illness.

And the story of coconut in a part of the rituals and ceremonies would be end here.

เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๔ - มะพร้าวในพิธีกรรมต่าง ๆ

ดังที่กล่าวไปในครั้งก่อน ๆ ว่าในอินเดียนั้นนับถือมะพร้าวมาก บางท้องถิ่นถึงขนาดยกย่องให้มะพร้าวเป็นดังต้นกัลปพฤกษ์ในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย ทีเดียว มะพร้าวจึงถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมบวงสรวงเทวะต่าง ๆ มากมายเช่นเดียวกัน ในภูมิภาคทางตอนเหนือของอินเดียนั้น มะพร้าวถือเป็นศรีผลา หรือผลไม้ของศรี เทวีแห่งโภคทรัพท์ การบูชามะพร้าวจะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อแพร่ออกไปสู่อินโดนีเซีย ในบางท้องถิ่นสมัยก่อน ก่อนจะเริ่มเพาะปลุกหว่านไถ จะมีการบวงสรวงโดยการราดน้ำมะพร้าวลงดินก่อนจะเริ่มไถพรวนดินเพื่อให้ฟ้าฝนไม่แห้งแล้ง

นอกจากถือเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์แล้ว ผลมะพร้าวยังถือเป็น ตัวแทนของพระศิวะ เนื่องด้วยสัณฐานของผลที่มีตาอยู่สามตา เปรียบเสมือนพระศิวะที่มีสามเนตรเช่นกัน ในศาสนาฮินดูจึงถือกันว่ามะพร้าวเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ ในการทำพิธีสรงน้ำเทวรูปต่าง ๆ หรือทำกลัศบูชานั้นจะมีการนำลูกมะพร้าวมาปิดปากหม้อน้ำ โดยเปรียบให้เป็นที่สถิตของพระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพิธีกรรม ตามปกติลูกมะพร้าวนี้จะไม่ถูกนำไปใช้งานอื่น ๆ แต่จะเก็บเอาไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลของตน หลังจากเก็บไว้จนถึงเวลาจะทำพิธีกรรมครั้งใหม่จึงจะนำไปจำเริญลอยน้ำต่อไป

การทำกลัศบูชา โดยนำใบมะม่วงใส่ในหม้อน้ำแล้วนำลูกมะพร้าวปิดปากหม้อ
 (รูปจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Kalasha)


เนื่องจากมะพร้าวมีสัณฐานคล้ายกับศีรษะมนุษย์ จึงมีพิธีการทุบมะพร้าวขึ้นในอินเดีย นัยว่าเพื่อเป็นการทำลายอัตตาของตนทิ้งไปให้บริสุทธิ์ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ว่าอุปสรรคใด ๆ ที่ขวางกั้นอยู่ได้ถูกทำลายไปแล้วด้วยเช่นกัน 

นอกจากใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ แล้ว ลูกมะพร้าวยังถูกใช้ในงานอวมงคลเช่นงานศพด้วย ด้วยถือว่าน้ำมะพร้าวนั้นเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ประหนึ่งน้ำในแม่น้ำคงคา ในบางถิ่นจึงมีประเพณีใช้น้ำมะพร้าวรดชำระศพให้บริสุทธิ์รวมถึงในไทยด้วย ที่แปลกคือประเพณีดั้งเดิมของชาวทมิฬในบางท้องถิ่นนั้น เมื่อมีผู้ตายจะนำศพไปพิงไว้กับกำแพง ก่อนจะนำลูกมะพร้าวมาขว้างใส่ศพจนแหลกเหลวจึงจะนำไปฌาปนกิจต่อไป

ในพระราชพิธีบางพิธีในไทยนั้นก็มีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน อาทิในพระราชพิธีลงสรงเพื่อชำระพระวรกายให้สะอาดศักดิ์สิทธิ์ (และอีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นการฝึกหัดให้ชินกับการว่ายน้ำ) นั้นก็จะมีการใช้มะพร้าวปิดกระดาษทองกระดาษเงินร่วมด้วย โดยมะพร้าวที่ใช้นั้นจะเป็นมะพร้าวงอกเพื่อสื่อถึงความเจริญงอกงามในภายภาคหน้า โดยในพระราชพิธีนั้นผู้เข้าพิธีจะเสด็จลงสรงสนานพร้อมกับมะพร้าวเงินมะพร้าวทอง นัยว่าเพื่อให้ใช้ลูกมะพร้าวนั้นเป็นทุ่นในการยึดเกาะและลอยตัวไว้มิให้จมน้ำด้วยนั่นเอง

สุดท้ายนี้จะขอพูดถึงการใช้มะพร้าวบูชาในพม่า โดยมะพร้าวในพม่านั้นใช้เป็นเครื่องบวงสรวงหนึ่งในบรรดานัตหลวง คือเจ้าพ่องะตินเดและเจ้าแม่ชเว มรัต หละ ซึ่งถือเป็นเจ้าแห่งนัตหลวงทั้งปวง ธรรมเนียมการบูชานัตหลวงทั้งสองตนนี้มีขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตตาแห่งราชอาณาจักรพุกาม เนื่องด้วยมีตำนานว่านัตทั้งสองตนนี้ได้ช่วยเหลือในกิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นอย่างมาก พระองค์จึงได้ประกาศให้ข้าราษฎร์ทั้งปวงทำการบวงสรวงนับถือนัตทั้งสองสืบต่อมา โดยให้ตั้งลูกมะพร้าวอ่อนเฉาะแล้วไว้ในบ้านเรือนเป็นการบูชา ลูกมะพร้าวที่ตั้งบูชานี้ยังใช้ทำนายสุขภาพของคนในครัวเรือนได้อีกด้วย ว่ากันว่าหากคนในบ้านนั้น ๆ เจ็บไข้ไม่สบายขึ้นมาก็ให้ดูผลมะพร้าว หากน้ำมะพร้าวยังเต็มเนื้อมะพร้าวยังสด คนป่วยก็จะฟื้นไข้ในไม่ช้า แต่หากข้างในเหี่ยวแห้งแล้วก็แสดงว่าคนป่วยอาการจะทรุดลง ต้องทำการแก้เคล้ดด้วยการถาวยมะพร้าวผลใหม่จึงจะหายป่วยไข้ขึ้นได้

ก็ขอจบเรื่องราวพิธีกรรมที่มีมะพร้าวมาเกี่ยวข้องด้วยแต่เพียงเท่านี้


Tuesday, September 1, 2015

Coconut story part III - of the traditional measurement in Thailand, Tanan

Now we know the origin of the words “Ma-prao” and “Kala”, which means coconut and coconut shell in Thai, respectively. Next I’ll talk about a coconut-related word – Tanan.

Tanan is a name of Thai ancient measurement, mostly used in measuring rice. The Tanan is made from the coconut shell with one “eye”. In Thai history, the word Tanan was officially mentioned in the era of King Ramathibodi I, the founder of the Kingdom of Ayutthaya. However, it was believe that coconut shell was used as Tanan since, at least, in the Kingdom of Sukhothai era, due to the resourcefulness of coconut in Siam at that time.

In the time of King Rama VI, Thai ancient measurement was converted to the metric system. The Tanan was officially announced that equal to one liter. However, due to the famous of the metric system, the use of Thai ancient measurement was gradually decreased. Nowadays, Tanan is only used in child’s play song or idiom, like “stuffed with Tanan” means very packed.

The word “Tanan”, like Ma-prao and Kala, is not originally Thai word. Some believe that it derived from the Marathi word “Naral” means coconut. Others believe that it comes from the Khom word “Neal” means coconut shell (some say that the word Neal is exactly Naral, in Khom accent). Since these kingdoms had the culture exchanging with Siam for the long time, both hypothesis are acceptable.

เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๓ – ว่าด้วยทะนาน

จากตอนที่แล้วที่กล่าวถึงที่มาของคำว่ามะพร้าวและกะลา ว่าน่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาอินเดียและชวา ในครั้งนีจะขอเอ่ยถึงศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวที่มีใช้ในไทยมานาน ทั้งในสุภาษิตและการละเล่นของเด็ก ๆ นั่นคือคำว่าทะนานครับ

ทะนานนั้นเป็นชื่อเรียกมาตรการชั่ง ตวง วัด แต่โบราณของไทย ตามปกติทะนานจะนิยมใช้เรียกการตวงของแข็งมากกว่าของเหลว ส่วนมากจะใช้ในการตวงข้าวโดยตั้งชื่อตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการตวง นั้นคือทะนาน ซึ่งทำจากกะลามะพร้าว 
คำว่าทะนานนั้นปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏอยู่ในตัวบทกฎหมาย แต่สันนิษฐานกันว่าการใช้กะลาเป็นทะนานตวงวัดนั้นน่าจะมีใช้กันมาอย่างน้อยตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย ด้วยในสมัยนั้นเมืองไทยมีต้นมะพร้าวเยอะ ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 

นอกจากทะนานทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังมีมาตราวัดที่เรียกกันว่าทะนานหลวง ซึ่งบัญญัติขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 มีอัตราเท่ากับ 1 ลิตรในระบบเมตริก อย่างใดก็ดีหลังการเข้ามาของระบบเมตริกทำให้การใช้ระบบชั่งตวงวัดแบบเดิมค่อย ๆ สูญหายไป ปัจจุบันคำว่าทะนานนั้นจะปรากฏในสุภาษิต อาทิ ยัดทะนาน ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยถึงการอัดสิ่งใด ๆ เข้าไปจนแน่น เปรียบเสมือนการตวงข้าวด้วยทะนานปริมาณมาก ๆ 

คำว่าทะนานนั้นดูเผิน ๆ ก็ดูคล้ายคำไทยแท้ แต่เมื่อพิจารณาถึงรากศัพท์ของทั้งกะลาและมะพร้าวแล้วก็น่าจะเชื่อได้ว่าคำว่าทะนานนั้นก็ควรจะมีรากศัพท์มาจากคำภาษาอินเดียด้วยเช่นกัน หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้คือ คำว่าทะนานนั้นมาจากคำว่า "นาราล" (Naral) ซึ่งเป็นคำเรียกมะพร้าวในภาษามราฐีในอินเดีย กับอีกข้อหนึ่งคือมาจากคำภาษาขอมว่า "เนียล" (Neal) ซึ่งเป็นคำเรียกกะลามะพร้าว (สันนิษฐานว่าคำว่าเนียลนั้นคือคำว่านาราลนั่นเอง) เนื่องจากอาณาจักรสยามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทั้งฝั่งขอมและอินเดีย ข้อสันนิษฐานทั้งสองข้อนี้จึงมีความเป้นได้ด้วยกันทั้งคู่ครับ


Monday, August 31, 2015

Coconut story part II - The origin of Thai words for coconut

Last time, I wrote a topic about the root of Thai word meaning clock (nalika) that related to the word meaning coconut. This time, I’ll talk about the root of Thai word for coconut.

Thai word for Coconut can pronounce as “Ma-Prao”. This word is originally derived from the Malayayan word Koppara “the coconut meat”. After adaptation, the koppara is come to Prao for easily pronunciation in Thai then adding the prefix Ma (derived from “Marg” means fruits in Thai language) to become Ma-Prao in this present. The word Koppara is also believe that is the root for word Copra that used to called the dried coconut meat, too. 

The word Koppara sounds like Kallapa, which is the sacred tree of anything that one can wish for, growing in the era of Metteya the next Buddha. This might come from the numerous usefulness of coconut tree, so Indian people respect the coconut and give it the Kallapa name.

The norm to called coconut as Kallapa was passing through Malaysia and Indonesia continent. They called this plant as Kalapa. The name Kalapa is also given to the island in Indonesia, which is rich of coconut in its continent (this island is currently Jakarta). In Thailand, Kalapa is known as the city famous in imported high-quality mirror, hat and rose apple. The word calling coconut shell in Thai “Kala” might be related to the Kalapa word.

"Kala" - or coconut shell. The three "eyes" make it looks more like the real human skull. 

Moreover, another word called the coconut shell in Thai is “Ka-loag”, which also means “skull” in Thai. This way of naming is identical to the root word of coconut, which originally derived from Spansh word “coco” means “skull”. How wonder that two isolated countries have the similar way to name a plant!

เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๒ - ที่มาของคำว่ามะพร้าวและกะลา

จากคราวที่แล้วที่พูดถึงที่มาของคำว่านาฬิกา ที่มาจากการนำกะลามะพร้าวมาลอยน้ำใช้ต่างอุปกรณ์จับเวลา มาในครั้งนี้จึงขอพูดถึงที่มาของคำว่ากะลาและมะพร้าวกันบ้าง

คำว่ามะพร้าวนั้นฟังดูเผิน ๆ ก็เหมือนคำไทยแท้ แต่แท้จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากคำภาษาอินเดีย (เช่นเดียวกันกับคำว่านาฬิกา แต่คำหลังนี้ยังพอมีสัณฐานให้ดูออกได้ว่ามาจากภาษาต่างประเทศจริง) 

คำว่า "พร้าว" นั้น เหล่าปราชญ์บัณฑิตสันนิษฐานกันว่ามาจากคำภาษามาลายายัน กอปปารา (Koppara) ซึ่งหมายถึงมะพร้าวแก่หรือมะพร้าวห้าว (คำนี้ต่อมาได้กลายเป็นที่มาของคำว่า Copra ที่ฝรั่งใช้เรียกเนื้อมะพร้าวเช่นกัน) เชื่อกันว่าคำนี้พอรับเข้ามาในประเทศไทยก็เพี้ยนกลายเป็นคำว่าพร้าว (Prao) ก่อนที่จะมีการเติมคำว่ามะ (กร่อนเสียงมาจากคำว่าหมากที่แปลว่าผลของต้นไม้) เพื่อสื่อว่าเป็นผลของต้นพร้าว จึงกลายเป็นมะพร้าวในปัจจุบัน

นอกจากนี้ คำว่า กอปปารานั้น ออกเสียงคล้ายกับคำว่า กัลป ของต้นกัลปพฤกษ์ หรือไม้สารพัดนึก สันนิษฐานกันว่าเนื่องจากต้นมะพร้าวนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทุกรูปแบบ ชาวอินเดียจึงมีความนับถือและเชื่อว่าต้นมะพร้าวนั้นก็คือไม้กัลปฟฤกษ์นั่นเอง จึงเรียกขานชื่อต้นไม้ชนิดนี้กันว่ากัลป

การเรียกต้นมะพร้าวว่าไม้กัลปพฤกษ์นั้นได้แพร่จากอินเดียเข้ามาสู่แถบคาบสมุทรมลายู (ปัจจุบันคือมาเลเซีย) และอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน โดยภูมิภาคแถบนั้นจะออกเสียงว่ากะลาปา คำ ๆ นี้ยังใช้เรียกเกาะในอินโดนีเซียที่มีต้นมะพร้าวขึ้นเยอะด้วยเช่นกันว่าเกาะกะลาปา (คือบริเวณเมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน) คนไทยจะรู้จักคำนี้ในชื่อกะหลาป๋า หากใครเคยอ่านเรื่องระเด่นลันไดก็อาจจะคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้ดี คำว่ากะลาปาหรือกะหลาป๋านี้ยังอาจเป็นที่มาของคำว่ากะลาอีกด้วยเช่นกัน 

กะลามะพร้าว จากสันฐานจะเห็นว่าคล้านกับกะโหลกศีรษะมนุษย์จริง ๆ 

อนึ่ง ในเมืองไทยสมัยก่อนนั้น เราจะเรียกส่วนเปลือกนอกแข็ง ๆ ที่หุ้มเนื้อมะพร้าวของมะพร้าวว่ากะโหลก ซึ่งการเรียกส่วนนี้ว่ากะโหลกนั้นไปพ้องกับรากศัพท์ของคำว่ามะพร้าวในภาษาอังกฤษ (coconut) ว่า "coco" ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นภาษาสเปนหมายถึงกะโหลก (ทีมาของการใช้คำนี้เรียกมะพร้าว เพราะเปลือกนอกของผลมะพร้าวส่วนกะลานั้นมีสัณฐานคล้ายกะโหลกศีรษะมาก) ก็นับว่าแปลกดีที่ทั้งไทยและเทศต่างมีมองว่ามะพร้าวนั้นคล้ายกะโหลกศีรษะเหมือนกันนะครับ

Sunday, August 30, 2015

เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๑ - ที่มาของคำว่า "นาฬิกา"

วันก่อนได้ลองชิมนมรสใหม่ ที่เป็นรสน้ำมะพร้าวอ่อนแล้ว ก็พบว่าอร่อยดีใช้ได้เหมือนกันครับ กลิ่นมะพร้าวอ่อน ๆ กลบกลิ่นนม บวกกับรสไขมันของนมทำให้รสมะพร้าวเข้มข้นขึ้น ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่อร่อยทีเดียวครับ

กินเสร็จ ก็นึกขึ้นมาได้ว่ามะพร้าวนั้นมีความเกี่ยวพันกับเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันชนิดหนึ่งเป็นอย่างมาก สิ่งนั้นคือนาฬิกา จึงขอนำเรื่องราวของนาฬิกามันบันทึกไว้ในที่นี้

มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera อยู่ในวงศ์ Arecaceae หรือไม้วงศ์ปาล์ม ส่วนที่ใช้บริโภคเป็นหลักคือส่วนของเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งสองส่วนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมล็ดมะพร้าว (ส่วนของผลมะพร้าวจริง ๆ นั้นคือส่วนที่เป็นกะลามะพร้าว) มะพร้าวนี้ในภูมิภาคทางใต้ของอินเดียจะเรียกกันว่า "นาฬิเก" (nalikel ในภาษาเตกูลู) ซึ่งคำ ๆ นี้เป็นทั้งชื่อเรียกผลมะพร้าวในภาษาอินเดีย และชื่อเรียกเกาะ ๆ หนึ่งในภาคใต้ของอินเดียที่มีต้นมะพร้าวอุดมสมบูรณ์ มีบันทึกไว้ว่าในสมัยก่อนชนพื้นเมืองบนเกาะนาฬิเกนั้นจะบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลัก ไม่มีการทำไร่เพาะปลูกใด ๆ ทั้งสิ้น

ลูกมะพร้าว ถ่ายที่ซอยสวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

แล้วมะพร้าวหรือนาฬิเกมาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์บอกเวลาที่ในปัจจุบันนี้เราเรียกว่านาฬิกาได้อย่างไร ก็ด้วยในสมัยก่อนเมื่อยังไม่มีนาฬิกากลไกนั้น ก็ต้องอาศัยดูเวลาจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแล้วเปรียบเทียบเอา หนึ่งในนั้นคือการเอากะลามะพร้าว (หรือนาฬิเก) มาลอยน้ำให้ค่อย ๆ จมลง เมื่อกะลาจมลงถึงก้นภาชนะก็นับเป็นหนึ่งช่วงเวลา คือ "หนึ่งนาฬิเก" เมื่ออุปกรณ์กลไกบอกเวลาเข้ามาถึงประเทศไทย จึงนำชื่อนาฬิเกนั้นไปตั้งเป็นชื่อของอุปกรณ์ชนิดนั้น ๆ ด้วย เมื่อเวลาผ่านไปคำเรียกก็เพี้ยนไปให้ง่ายต่อการออกเสียงกลายเป็นนาฬิกา ดังที่ใช้อยู่ในไทยในปัจจุบันนั่นเอง

Coconut story part I - coconut and clock in Thailand

I happened to have a chance to taste the new daily product, the coconut water flavor in the previous days. The odor of fresh coconut, combines with the sweet & oily taste of cow milk is quite a good match. Overall, it taste good and worth my spent money.

In Thai language, the world means clock (na-li-ka) has a strong relationship with the coconut. However, I should start with a brief description of coconut.

Coconut or Cocos nucifera is a plant in Araceceae family (the palm tree family). The consumable parts are the flesh and the water, which is indeed the endosperm – a part of the seeds. The real coconut “fruit” is the husk and the hard shell surrounded the “flesh” and “water”. 

Coconut fruits, Taling Chan District, Bangkok

In the southern India, coconut is called in Tegulu as “nalike”. This name was given to both the coconut itself and the island located in Southern India, where numerous coconut trees are grown. The legend says that the native people of this island ate coconut as the main ingredient of their diet. 

Then what is the relationship between coconut and clock in Thailand? In the past, Thai people use the hard shell of coconut (called “Kala” in Thai) for many purposes, including for time count. They were placed the pored coconut shell in the container filled with water and wait until the shell was sunken into the bottom of the container and set as one cycle of the time count. They named this time count as “one Nalike” after the name of coconut in Tegulu. When the mechanical clock firstly arrives in Thailand, Thai people given the name Nalike to the clock, as a symbol informed that this is the tool to tell time. Time past and the name was chance, for easier pronounce, as “nalika”. Nowadays, the word nalika is officially used in Thailand as the clock. 

So the Thai word for clock is originally derived from the name of the coconut in Tegulu.