Sunday, October 4, 2015

What type of wood is a material of "red Chan monk's bowl" in the Buddha history?



In “Mango in the Buddha history”, I mentioned about Yamaka Parihariya, which occurred after the Buddha forbid all sangha to perform the supernatural power. The origin of this forbidden is caused by the sangha name Pindola Bhāradvāja shows the miracle to receive the monk’s bowl made from “red Chan wood”. After I finish that work, I wonder that what kind of wood that made this monk’s bowl because all Chan wood in Thailand (Mansonia gagei) is not red! In fact, its color is yellow to light brown.

So, what exactly is the wood made the mentioned monk’s bowl?

There are some plants in Indian continent that also called “Chan” in Thailand although they aren’t Mansonia gagei. One of them is the sandalwood or Santalum album, an endangered species originated from South India continent. This plant is the main source of sandalwood oil production, of course it contains strong fragrant. However, like Mansonia gagei, its wood is not red but white to light brown like its name (A’bum means “white”). This plant could not be the “red Chan wood” in the Buddha history.

Another plant that looks resemble to the sandalwood is red sandalwood or Pterocarpus santalinus (santalinus means “like the sandalwood”). Unlike the “true” sandalwood, this plant has no fragrant. Red sandalwood is close to Burma Padauk (Pterocarpus macrocarpus), which is the national flower of Myanmar. Because the red sandalwood has reddish heartwood, this plant might be the “red Chan wood” mentioned in the Buddha history and might be the material for mentioned monk’s bowl.

Is there any Chan plant in Thailand that has red heartwood? The answer is “Yes!” Some Dracaena species in Thailand can produce red heartwood when attacked by the fungi. This infected wood is used in traditional medicine to lower all kind of fever. This infected might be the candidate of the “red Chan wood” in the Buddha history.



Moreover, the sap released from Dracaena plants is also red. This sap is the material to produce the famous folk medicine known as “Dragon’s blood”, which is used as an ultimate remedy mainly treated in respiratory and gastrointestinal diseases.

"บาตรไม้แก่นจันทน์แดง" ในพุทธประวัตินั้น ทำจากไม้ชนิดใดกันแน่?

ในคราวที่เขียนเรื่อง “มะม่วงในพุทธประวัติ” นั้น ได้กล่าวถึงการทำยมกปาฏิหาริย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีที่มาจากการที่พระปิณโฑลภารทวาชได้กระทำปาฏิหาริย์จนชาวเมืองโจษจันกันนั้น ได้มีการกล่าวถึงบาตรที่ทำจากไม้จันทน์สีแดงดั่งครั่ง ไว้ เมื่อย้อนกลับมาดู ก็ให้สงสัยว่า บาตรเจ้าปัญหาลูกนั้น ทำจากไม้จันทน์จริงหรือ เพราะไม้จันทน์ในไทยนั้น มีสีออกเหลืองนวล ไม่ใช่สีออกโทนแดงแม้แต่น้อย และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสีแดงก่ำดั่งปรากฏในพุทธประวัติ

ถ้าเช่นนั้น บาตรไม้แก่นจันทน์แดง ที่ว่านั้น ทำจากไม้อะไรกันแน่? ปัญหานี้ต้องย้อนกลับไปดูพรรณไม้ในแถบภูมิภาคอินเดีย เวทีแห่งเรื่องราวในพุทธประวัติ

จากการสืบค้นดู พบว่าในแถบภูมิภาคอินเดียนั้น มีพรรณไม้ที่เรียกขานกันในไทยว่าจันทน์ ที่มิใช่พันธุ์เดียวกับไม้จันทน์ ของไทย หรือ Mansonia gagei อยู่เช่นกัน ไม้ชนิดนั้นคือ sandalwood หรืออาจกล้อมแกล้มเรียกในชื่อไทยได้ว่าจันทน์หอม sandalwood มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดียใต้ ปัจจุบันพบได้ในแถบออสเตรเลียทางเหนือเช่นกัน ในอดีตถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำมันจันทน์หอม หรือ sandalwood oil ปัจจุบันจัดเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ที่รัฐบาลอินเดียเป็นผู้ควบคุมการปลูกและจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (แน่นอนว่ามีการบักลอบตัดกันอยู่เนือง ๆ ) อย่างไรก็ตาม ไม้ชนิดนี้มีสีออกไปทางขาวนวลดังที่ระบุไว้ในชื่อ (album ในภาษาละตินหมายถึงสีขาว) จึงไม่น่าจะใช่ “ไม้แก่นจันทน์แดงดั่งครั่ง” ที่ระบุไว้ในพุทธประวัติเช่นกัน

ทั้งนี้ ในอินเดียนั้นยังคงมีไม้สกุลอื่น ๆ ที่เรียกกันว่า sandalwood อยู่ด้วย ไม้ชนิดนั้นคือ red sandalwood หรือในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus จากชื่อก็บ่งบอกว่าไม้ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับ sandalwood มาก (santalinus แปลว่ามีลักษณะคล้าย sandalwood) ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ red sandalwood ไม่มีกลิ่นหอม ไม้ชนิดนี้เป็นญาติใกล้ชิดกับประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ที่เป็นไม้สัญลักษณ์ประจำประเทศพม่าอีกด้วย

เนื่องด้วย red sandalwood มีเนื้อไม้สีแดงก่ำ (รวมไปถึงต้นประดู่ป่าด้วย) ประกอบกับในพุทธประวัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่า”ไม้แก่นจันทน์แดงดั่งครั่ง” นั้นมีกลิ่นหอมหรือไม่ จึงอาจเป็นไปได้ว่า บาตรไม้จันทน์แดง เจ้าปัญหาที่เป็นที่มาของการบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ทำจากไม้ red sandalwood หาใช่ไม้จันทน์ที่คนไทยรู้จักไม่ครับ

แล้วในไทยนั้น ไม่มี “ไม้แก่นจันทน์แดง” อยู่บ้างเลยหรือ คำตอบคือ มีครับ ในไทยนั้นมีไม้ในสกุลจันทน์ผาอยู่ (สกุล Dracaena) ไม้ชนิดนี้เมื่อโดนเชื้อรากินเนื้อไม้จากสีน้ำตาลนวล จะกลับกลายเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอมขึ้นมา (คล้ายกับ “ขอนดอก” ที่เกิดจากแก่นพิกุลโดนรากิน) ในตำรายาไทยจะใช้แก่นจันทน์แดงนี้เป็นยาแก้พิษไข้ทุกชนิด เมื่อคำนึงจากเรื่องราวในพุทธประวัติทีว่า บาตรแก่นจันทน์แดงนั้นทำจากไม้จันทน์ที่ลอยตามน้ำมา ก็อาจเป็นไปได้ว่าบาตรแก่นจันทน์แดงนั้นอาจทำจากไม้จันทน์ผา ซึ่งระหว่างที่ลอยตุ้บป่องมานั้น เชื้อราได้กัดกินจนไม้จันทน์ผานั้นกลายเป็นสีแดงแล้วได้เช่นกันครับ

อนึ่ง ไม้ในสกุลจันทน์ผาบางชนิดนั้นมีน้ำเลี้ยงสีแดงดั่งโลหิต ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต “โลหิตมังกร” มาแต่ครั้งโบราณ อันว่าโลหิตมังกรนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาแก้สรรพโรคาในตำรายาพื้นบ้านของทั้งทางจีนและอินเดีย โดยจะเน้นรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารเป็นหลักครับ