Wednesday, December 30, 2015

Water Hyacinth: the Royal alien species


If you’re traveling by boat in Bangkok, you can see numerous water hyacinths spreading in canals and rivers. Water hyacinth is a threatening species to Thailand’s ecosystem for hundred years. Its magnificent reproductive power can covered its habitat within a few months, letting other hydro species unable to reproduction and extinct. Its thick brush cause oxygens are hard to dissolve in water and the corpses are sunken in the habitat, resulting in polluted water. However, this disastrous plant is not the native species in Thailand. It is the alien species introduced to our country by the Royal family. 

Water hyacinth or Eichhornia crassipes (its species name means “thick foots”, referring to its succulent stems & roots) is originally native to South American region. It was firstly introduced to South East Asia in late 19th century by the Hollanders who rule over Java (now is Indonesia). In Thailand, water hyacinth was firstly imported in around year 1896 by the order of Queen Saovabha Phongsri of King Rama V when they were going to Java. Queen Saovabha Phongsri happened to like the beautifulness of water hyacinth’s inflorescent that resemble to the orchid. Water hyacinths were then firstly planted in Thailand at Phayathai palace and they were successively cultivated. After that, Queen Saovabha Phongsri had an order to planting water hyacinth outside the palace, starting from Samsen canal behind the Phayathai palace, in order to “ to let commoners have a chance to see its beauty”, and the story begun.

Water hyacinth inflorescent (Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Eichhornia_crassipes)

Not so long after the spreading of water hyacinth outside the palace, this plant became the nuisance to local people especially the ones who travel via canal or river. King Rama V had a speech in year 1908, twelve years after the first arrival of water hyacinth in Thailand, mentioned that the water hyacinth was “very dangerous”. In 1910, water hyacinth was introduced in the first agricultural festival in Thailand as “a dangerous & useless plant that everyone should eliminate”. Although in the era of king Rama VI had established the law of eliminating water hyacinth, it wasn’t successful until today. 

Nowadays, water hyacinth once known as the beautiful gift from the queen, are well-known as the disastrous alien species.

ผักตบชวา: alien species พระราชทาน

ในสมัยที่ผมยังทำงานที่โรงพยาบาลศิริราชนั้น จำเป็นที่จะต้องนั่งเรือข้ามฟากเพื่อไปทำงานอยู่เสมอ ทุกครั้งที่นั่งเรืออยู่นั้น ก็จะเห็นผักตบชวาลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา มากบ้างน้อยบ้างอยู่เสมอ ไม่เคยเลยที่จะไม่เห็นผักตบชวาลอยอยู่สักครั้ง ผักตบชวานี้ถือเป็นพืชที่ก่อปัญหาทางน้ำตัวสำคัญในไทย ด้วยความสามารถในการแพร่พันธุ์ของมัน ทำให้ลำน้ำที่มันงอกเงยอยู่นั้นเต็มพรืดไปด้วยผักตบชวาภายในเวลาไม่นาน เบียดบังพืชน้ำอื่น ๆ ให้ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้จนตายสูญไปหมด นอกจากนั้นพุ่มใบที่ดกหนาของผักตบชวายังทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถผ่านลงมาในน้ำได้ บวกกับซากเน่าเปื่อยที่หล่นร่วงลงไปในน้ำ จึงทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสียไปตาม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้หลาย ๆ คนอาจนึกไม่ถึงว่าแท้จริงแล้วผักตบชวาไม่ใช่พืชท้องถิ่นของไทย แต่เป็นพืชต่างถิ่นที่มาเติบโตแย่งชิงถิ่นที่อยู่ของพืชท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่า alien species นั่นเอง

ผักตบชวาหรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eichhornia crassipes นั้นแต่เดิมเป็นพืชท้องถิ่นในแถบอเมริกาใต้ พืชชนิดนี้ถูกนำเข้ามายังแถบเอเชียอาคเนย์ในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวฮอลันดาที่ปกครองอาณาเขตชวาอยู่ในขณะนั้น พืชชนิดนี้ถูกนำเข้าไทยมาในราวปี พ.ศ. 2439 ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสชวาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ได้ทอดพระเนตรเห็นดอกผักตบชวาแล้วนึกชมชอบในความงามของช่อดอกที่มีสัณฐานคล้ายกับกล้วยไม้ของไทย จึงมีรับสั่งให้นำกลับไปทดลองปลูกที่เมืองไทยด้วย โดยได้ทดลองปลูกผักตบชวาเป็นครั้งแรกในวังพญาไท ผลการทดลองนั้นพบว่าผักตบชวาสามารถเติบโตแพร่พันธุ์ได้ดี จึงมีดำริให้นำพันธุ์ผักตบชวานั้นปล่อยลงตามคลองนอกวัง โดยเริ่มจากคลองสามเสนเป็นแห่งแรก เพื่อที่ประชาชนทั่วไปจะได้ยลความงามของดอกผักตบชวาเยี่ยงเหล่าเจ้านายด้วย

ดอกผักตบชวา (แหล่งที่มา:https://en.wikipedia.org/wiki/Eichhornia_crassipes)

ชั่วเวลาไม่นาน ผักตบชวาที่เคยเป็นที่นิยมชมชอบก็กลับเปลี่ยนสถานะเป็นภัยต่อสังคม ดังในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีรับสั่งถึงผักตบชวาเป็น “ของร้ายกาจมาก” ในปี พ.ศ. 2543 ผักตบชวาจึงได้รับการแนะนำให้ประชาชนทั่วไปรู้จักในฐานะของ “พืชอันตรายไร้ประโยชน์ที่ต้องช่วยกันกำจัด” ถึงแม้ในสมัยรัชกาลที่ 6 จะมีการออกพระราชบัญญัติให้กำจัดผักตบชวาให้สิ้นซากก็ตาม ผักตบชวาก็ยังคงเหลือรอดตกทอดมาเป็นมรดกจนถึงทุกวันนี้


จากที่ครั้งหนึ่ง ผักตบชวาเป็นที่รู้จักกันในฐานะไม้ประดับแสนสวยที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงประทานให้ทุกผู้ชน แต่มาในวันนี้กลับเป็นที่รู้จักในฐานะ alien species ที่เป็นภัยแก่สิ่งแวดล้อมไปเสียแล้วนั่นเอง

Monday, November 23, 2015

The sorrow in Thai literatures: Jak

When I was young, I was raised at Samut Prakan province, my mother’s side hometown. My mother’s house was built in the degenerated mangrove forest area, which still remains some kind of plant that can see in mangrove forest like mangrove itself or mangrove apple (Sonneratia caseolaris). Nowadays, most of them are gone during the uprising of town and factory except nipa palm or in Thai Jak.

Jak or Nypa fruticans is the one and only palm species that can adapted to mangrove biome. It can be seen in mangrove forest, through south-eastern Asia to Australia and the southern part of Japan. In Thailand, this plant is used to made a sweet called “kanom Jak”, which is made from the sticky rice flour, ripe coconut flesh and coconut sugar. The ingredients are mixed and warped with Jak leaves before grilled until they’re cooked. The immature fruits, fresh or macerated in syrup, are also consumed as a snack.

Unripe fruits of Nipa palm, Samut prakan province.

Because the word “Jak” also means “depart” or “farewell” in Thai, this “Jak” tree is famous to use by the writers or poets in Thai literatures and folklores as the symbol to express the emotion of the characters when they are forced to depart with the one they loved. The masterpiece one is Enau,. Not only Jak tree was used to express the sadness of the character, but also Jak-prak, which is Thai name of ruddy shelduck or tadorna ferruginea.

Other famous plants used in the literatures to describe the sadness of the characters are Rakum and Sala. Both of them are also the member of Arecaceae family like Nipa palm and their name have synonym with the sadness-meaning words in Thai.

Sala or Salak in Malaysia and Indonesia, commonly known as “snake fruit”, has the scientific name of Salacca zalacca, which could be derived from the word Salak. Unlike Nipa palm, Salak has numerous long spikes on thepetioles. Salak is one of the economic plants in Indonesia due to its delicious fruits. The most famous cultivars are Salak pondoh from Yogyakarta province and salak Bali from Bali.

Rakum or Salacca wallichiana is closely resembled to Salak. The difference is easily observed from their fruits. Normally, Salak fruit is round-shape and has only one pulp while Rakum fruits is longer and might be divided to 2-3 pulps. However, because these two species is very close and can cross-breeding, the divided-pulp Salak can be found in the market in Thailand. Moreover, there is the hybrid of Salak and Rakum which the spike is absent. Thai farmers called it “Sakum”.



Since both Sala and Rakum have synonym to the sadness-meaning words (Sala in Thai means “sacrifice”, Rakum means “sorrow”) and they are closely resembled. Most literature and poem use both of them as the symbol to express the character’s grief.

อุปมาโวหารในวรรณคดีไทย: จาก


ในช่วงวัยเด็กของผมนั้น ผมอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากพื้นเพทางแม่นั้นเป็นคนพระประแดง ในละแวกบ้านเดิมในวัยเด็กของผมนั้นเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม ซึ่งยังพอเห็นร่องรอยของไม้ชายเลน อาทิลำพูหรือโกงกางอยู่บ้าง (ปัจจุบันได้อันตรธานไปหมดแล้ว) หนึ่งในไม้ชายเลนที่พบเห็นทุกครั้งที่ออกจากบ้านมาวิ่งเล่นหรือไปโงเรียนเสมอคือต้นจาก

ต้นจากหรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans เป็นพืชตระกูลปาล์มหนึ่งเดียวที่ได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นไม้ที่ขึ้นในป่าชายเลนได้ นอกจากในไทยแล้วยังสามารถพบได้ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอาคเนย์ บางภูมิภาคของอินเดีย หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกรวมไปถึงออสเตรเลียและหมู่เกาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ในไทยนั้นมีการนำต้นจากมาใช้ประโยชน์ในการทำขนมจาก ซึ่งเป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว มะพร้าวทึนทึก (หรือมะพร้าวแก่) และน้ำตาลมะพร้าวนวดผสมเข้าด้วยกัน ก่อนจะห่อด้วยใบจากแล้วนำไปย่างจนเกรียมส่งกลิ่นหอม อีกทั้งผลจากอ่อนที่ยังไม่แก่ก็สามารถบริโภคได้ มีรสสัมผัสหนึบและมีรสหวานอ่อน ๆ นิยมนำมาเชื่อมหรือทำลอยแก้วเพื่อเพิ่มรสหวาน

ผลจาก ถ่ายที่บางกระเจ้า จ. สมุทรปราการ

เนื่องจากคำว่า”จาก” ของต้นจากนั้น ไปพ้องเสียงกับคำว่า”จาก”ที่มีความหมายถึงการอำลาจากกัน จึงมีการนำต้นจากนั้นไปใช้ในการบรรยายพรรณาเปรียบเทียบกับการอำลาของตัวละครในวรรณคดีไทยอยู่เนือง ๆ หนึ่งในวรณคดีที่มีชื่อเสียงที่มีการใช้ “ต้นจาก” เป็นสัญลักษณ์ของการอำลานั้น คือเรื่องอิเหนา ดังปรากฏในบทชมดงตอนศึกกะหมังกุหนิง ที่มีการใช้พันธุ์พืชและพันธุ์นกที่มีนามพ้องกับศัพท์ที่มีความหมายถึงความเศร้าสลดของตัวละครเอกที่ต้องจากบ้านเมืองมาทำสงคราม

เมื่อพูดถึงต้นจากในความหมายทางวรรณคดีแล้ว ก็เห็นจะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงต้นระกำและต้นสละไปไม่ได้ ด้วยไม้ทั้งสองชนิดนี้ก็มีความหมายพ้องกับศัพท์ที่แสดงความโศกเศร้าสูญเสียเช่นกัน อีกทั้งพืชทั้งสองต่างก็เป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับต้นจาก เพียงแต่ต่างสกุลกันเท่านั้น

ต้นสละ หรือเรียกกันในมาเลเซียและอินโดนีเซียว่า Salak นั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salacca zalacca (ชื่อวิทยาศาสตร์น่าจะแผลงมาจากชื่อ salak ) เป็นพืชท้องถิ่นในแถบเอเชียอาคเนย์ จุดที่ต่างจากต้นจากชัดเจนคือต้นสละนั้นมีหนามแหลมคมตามก้านใบ สละจัดเป็นพืชเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย โดยเฉพาะสละปนเดาะห์ (salak pondoh) หรือที่รู้จักในไทยในนามสละอินโด ที่มีรสหวาน เนื้อแห้ง ส่วนสละยอดนิยมอีกพันธุ์ คือสละบาหลีน้ำตาลทราย (gula pasir) ที่กล่าวกันว่ามีรสหวานที่สุดในสละทั้งปวง

ต้นระกำหรือ Salacca wallichiana มีลักษณะคล้ายสละมาก จุดต่างที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือผล โดยผลของสละนั้นจะมีลักษณะเรียวยาว เนื้อในมักจะมีเพียง1-2 กลีบ ในขณะที่ผลของระกำนั้นมีลักษณะกลมป้านกว่า และเนื้อในอาจแบ่งได้ถึง 2-3 กลีบ อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม้ทั้งสองชนิดนี้อยู่ในสกุลเดียวกันจึงสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้ ทำให้สละในท้องตลาดปัจจุบันอาจพบเนื้อในแบ่งเป็น 2-3 กลีบได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบไม้ลูกผสมระหว่างสละและระกำ ที่ออกมาไม่มีหนามเลยอยู่ด้วย เรียกกันว่า สะกำ

เนื่องจากระกำและสละนั้นมีลักษณะคล้ายกัน อีกทั้งชื่อของทั้งสองต้นยังไปพ้องกับศัพท์ที่บ่งบอกความสูญเสียเศร้าโศกได้เหมือนกัน ในวรรณคดีจึงมักปรากฏการใช้คู่กันเสมอในบทพรรณนาความเศร้าของตัวละคร ดังในลิลิตตะเลงพ่ายที่มีการพรรณาความทุกข์โดยใช้ระกำและสละคู่กันนั่นเอง

Tuesday, November 10, 2015

Indian gooseberry: an Indian Elixir of Life


Around this time in Thailand is usually winter season, but not for this year. The rain is still pouring down, together with a slightly chill in the morning and extremely hot in the evening. As a pharmacist, I often face people coming to drug store due to the flu. One of the magnificent drugs used in flu and cough (in my private opinion) is the extract of Indian gooseberry, which used in dry cough.

Indian gooseberry or Phyllanthus emblica is called in India as amla or amalaka (the word “emblica” is derived from the word “amla”). This plant is worshiped as a panacea and famously used in Ayurveda medicine. In Hindu belief, Indian gooseberry is the sacred tree that the great god Vishnu resides in. Another legend informed that Indian gooseberry was born from the drops of Amrit, the Elixir of Life in Hindu belief. From its origin, no wonder why this plant was honored as the remedy for every kind of diseases and to extend the life.

In Buddhism, Indian gooseberry is one of the remedy that Sangha can eat in the night time (normally, they cannot eating after noon and dinner is prohibited). Legend said that this plant is the last gift that King Ashoka given to Sangha. Indian gooseberry also used as the material in many Buddhism architect, like the Alma-shape stupa in India or alma-shaping edge in Myanmar.


Alma shaping-edge stupa at Sein Nyet Nyima pagoda, Bagan, Myanmar


Indian gooseberry also plays a role in Doctor Jivaka Kumar Bhaccha’s history. Once upon a time, Doctor Jivaka Kumar Bhaccha has to cure the illness of one brutal king. The remedy including ghee, which is the king’s least favorite. With fury, the king summon royal page to capture Doctor Jivaka Kumar Bhaccha that already leaving from his city. When the page found him, Doctor Jivaka Kumar Bhaccha gave the Indian gooseberry to the page as the “greeting gift” and he ate it. The page then suddenly diarrhea from the effect of Indian gooseberry and unable to caught Doctor Jivaka Kumar Bhaccha, who returned to his hometown save and sound.


There is an Indian gooseberry puja ritual in the 11th of second lunar month. In that day, the participants are watering the Indian gooseberry tree and pray for their wealth and health. This day is marked as the beginning of Holi festival, which takes place four days after that. Indian gooseberry also play a role in Holi festival as the ingredient to make the yellow-colored powder used in the festival.

มะขามป้อม หยาดน้ำอมฤตแห่งอายุวัฒนะ

ช่วงนี้ตามปฏิทินแล้วถือว่าเป็นฤดูหนาว แต่ก็ยังคงมีฝนตกเป็นระยะ ๆ สลับกับอากาศเย็นในช่วงเช้า และร้อนตับแลบในช่วงบ่าย ตัวผมในฐานะเภสัชกรจึงมีคนไข้เป็นหวัดไม่สบายมาหาอยู่เนือง ๆ ซึ่งในบรรดายาแก้หวัดที่สามารถขายในร้านขายยาได้นั้น หนึ่งในยาที่มีพลานุภาพแก้ไอได้ฉะงัดนักคือมะขามป้อม โดยจะใช้เป็นยาช่วยให้ชุ่มคอแก้คันคอ เคียงคู่มากับมะแว้งที่ใช้เป็นยาขับเสมหะ

มะขามป้อม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus emblica ในอินเดียเรียกกันว่าต้นอัมลา หรืออามลกะ (อ่านว่า อา-มะ-ละ-กะ) (คำว่า emblica ในชื่อวิทยาศาสนตร์ของมะขามป้อมนั้น คาดว่าน่าจะแผลงมาจากคำว่าอัมลา หรือ amla)จัดเป็นหนึ่งในเครื่องยาที่มีการใช้ในศาสตร์แห่งอายุรเวท ได้รับการยกย่องว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่รักษาได้ทุกโรค ที่มานั้นเนื่องมาจากตำนานในศาสนาฮินดู ที่นับถือมะขามป้อมว่าเป็นต้นไม้ประจำตัวของพระวิษณุหรือพระนารายณ์

อีกตำนานหนึ่งนั้นระบุว่าต้นมะขามป้อมมีกำเนิดมาจากหยาดน้ำอมฤตที่หยดลงมายังพื้นโลกโดยบังเอิญ ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียจึงถือกันว่ามะขามป้อมนั้นเป็นยาวิเศษที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้นานาประการ และยังเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยยืดอายุขัยออกไปได้อีกด้วย 

ในพุทธศาสนาแล้ว มะขามป้อมถือเป็นหนึ่งในผลเภสัช หรือผลไม้ที่เป็นยา ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันในยามวิกาลได้ อีกทั้งยังกล่าวกันว่าเป็นสิ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ถวายแก่เหล่าภิกษูสงฆ์เป้นสิ่งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน มะขามป้อมจึงถูกนำมาใช้เป็นแบบในการสร้างสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาหลายอย่าง อาทิเจดีย์ทรงมะขามป้อมครึ่งซีกที่อินเดีย หรือเจดีย์ที่ยอดปรางค์ทำเป็นทรงมะขามป้อมในพม่า เป็นต้น



เจดีย์เสียนเยียต ยีมา ที่ยอดปรางค์ทำเป็นทรงมะขามป้อม (ถ่ายที่พุกาม ประเทศพม่า)
มะขามป้อมยังปรากฏในพุทธชาดก ในส่วนของประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์ กล่าวคือครั้งหนึ่งหมอชีวกฯ ได้ถวายการรักษาแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ด้วยการให้เนยใสซึ่งพระองค์ทรงเกลียดชังนักโดยการปรุงแต่งกลิ่นรสกลบเสีย เมื่อถวายเสร็จก็กลัวพระเจ้าแผ่นดินจะพิโรธหากจับได้ว่าสิ่งที่เสวยเข้าไปคือเนยใส จึงรีบเดินทางออกจากเมื่อ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อจับได้ว่าโอสถนั้นเป็นเนยใส ก็สั่งให้มหาดเล็กไปตามหมอชีวกฯ กลับมารับโทษฐานหลอกลวง เมื่อมหาดเล็กเดินทางมาพบ หมอชีวกฯ ก็ทำอุบายเชื้อเชิญให้กินมะขามป้อม โดยตนกินให้ดูก่อนเพื่อให้เห็นว่าไม่มีพิษใด ๆ แต่ซีกที่หมอชีวกฯ กินนั้นได้แทรกยาต้านฤทธิ์ลงไปก่อน เมื่อนายมหาดเล็กกินมะขามป้อมซีดที่ไม่ได้แทรกยาลงไปก็เกิดการถ่ายท้องลง ณ ตรงนั้นจนไร้เรี่ยวแรง สุดที่จะจับตัวหมอชีวกฯ กลับไปได้ หมอชีวกฯ จึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพดังนี้แล

นอกจากในพุทธกาลปัจจุบันนี้แล้ว มะขามป้อมยังจัดเป็นต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าในกาลก่อน นามว่าพระปุสสพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้สำเร็จพระโพธิญาณอีกด้วย

ในอินเดียจะมีประเพณีการบูชาต้นมะขามป้อมในวันขึ้น 11 ค่ำเดือน 2 โดยในพิธีนั้นจะมีการรดน้ำต้นมะขามป้อมและสวดมนต์ขอพรให้มีสุขภาพดีและอายุยืน พิธีการบูชาต้นมะขามป้อมนี้ถือเป็นวันบอกการเริ่มต้นของเทศกาลสาดสี หรือ Holi festival อีกด้วย มะขามป้อมเองยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผงสีเหลืองที่ใช้สาดในเทศกาลอีกด้วย จะเห็นได้ว่ามะขามป้อมนั้นแทรกซึมอยู่ในสังคมอินเดียจริง ๆ ครับ

Sunday, October 4, 2015

What type of wood is a material of "red Chan monk's bowl" in the Buddha history?



In “Mango in the Buddha history”, I mentioned about Yamaka Parihariya, which occurred after the Buddha forbid all sangha to perform the supernatural power. The origin of this forbidden is caused by the sangha name Pindola Bhāradvāja shows the miracle to receive the monk’s bowl made from “red Chan wood”. After I finish that work, I wonder that what kind of wood that made this monk’s bowl because all Chan wood in Thailand (Mansonia gagei) is not red! In fact, its color is yellow to light brown.

So, what exactly is the wood made the mentioned monk’s bowl?

There are some plants in Indian continent that also called “Chan” in Thailand although they aren’t Mansonia gagei. One of them is the sandalwood or Santalum album, an endangered species originated from South India continent. This plant is the main source of sandalwood oil production, of course it contains strong fragrant. However, like Mansonia gagei, its wood is not red but white to light brown like its name (A’bum means “white”). This plant could not be the “red Chan wood” in the Buddha history.

Another plant that looks resemble to the sandalwood is red sandalwood or Pterocarpus santalinus (santalinus means “like the sandalwood”). Unlike the “true” sandalwood, this plant has no fragrant. Red sandalwood is close to Burma Padauk (Pterocarpus macrocarpus), which is the national flower of Myanmar. Because the red sandalwood has reddish heartwood, this plant might be the “red Chan wood” mentioned in the Buddha history and might be the material for mentioned monk’s bowl.

Is there any Chan plant in Thailand that has red heartwood? The answer is “Yes!” Some Dracaena species in Thailand can produce red heartwood when attacked by the fungi. This infected wood is used in traditional medicine to lower all kind of fever. This infected might be the candidate of the “red Chan wood” in the Buddha history.



Moreover, the sap released from Dracaena plants is also red. This sap is the material to produce the famous folk medicine known as “Dragon’s blood”, which is used as an ultimate remedy mainly treated in respiratory and gastrointestinal diseases.

"บาตรไม้แก่นจันทน์แดง" ในพุทธประวัตินั้น ทำจากไม้ชนิดใดกันแน่?

ในคราวที่เขียนเรื่อง “มะม่วงในพุทธประวัติ” นั้น ได้กล่าวถึงการทำยมกปาฏิหาริย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีที่มาจากการที่พระปิณโฑลภารทวาชได้กระทำปาฏิหาริย์จนชาวเมืองโจษจันกันนั้น ได้มีการกล่าวถึงบาตรที่ทำจากไม้จันทน์สีแดงดั่งครั่ง ไว้ เมื่อย้อนกลับมาดู ก็ให้สงสัยว่า บาตรเจ้าปัญหาลูกนั้น ทำจากไม้จันทน์จริงหรือ เพราะไม้จันทน์ในไทยนั้น มีสีออกเหลืองนวล ไม่ใช่สีออกโทนแดงแม้แต่น้อย และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสีแดงก่ำดั่งปรากฏในพุทธประวัติ

ถ้าเช่นนั้น บาตรไม้แก่นจันทน์แดง ที่ว่านั้น ทำจากไม้อะไรกันแน่? ปัญหานี้ต้องย้อนกลับไปดูพรรณไม้ในแถบภูมิภาคอินเดีย เวทีแห่งเรื่องราวในพุทธประวัติ

จากการสืบค้นดู พบว่าในแถบภูมิภาคอินเดียนั้น มีพรรณไม้ที่เรียกขานกันในไทยว่าจันทน์ ที่มิใช่พันธุ์เดียวกับไม้จันทน์ ของไทย หรือ Mansonia gagei อยู่เช่นกัน ไม้ชนิดนั้นคือ sandalwood หรืออาจกล้อมแกล้มเรียกในชื่อไทยได้ว่าจันทน์หอม sandalwood มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดียใต้ ปัจจุบันพบได้ในแถบออสเตรเลียทางเหนือเช่นกัน ในอดีตถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำมันจันทน์หอม หรือ sandalwood oil ปัจจุบันจัดเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ที่รัฐบาลอินเดียเป็นผู้ควบคุมการปลูกและจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (แน่นอนว่ามีการบักลอบตัดกันอยู่เนือง ๆ ) อย่างไรก็ตาม ไม้ชนิดนี้มีสีออกไปทางขาวนวลดังที่ระบุไว้ในชื่อ (album ในภาษาละตินหมายถึงสีขาว) จึงไม่น่าจะใช่ “ไม้แก่นจันทน์แดงดั่งครั่ง” ที่ระบุไว้ในพุทธประวัติเช่นกัน

ทั้งนี้ ในอินเดียนั้นยังคงมีไม้สกุลอื่น ๆ ที่เรียกกันว่า sandalwood อยู่ด้วย ไม้ชนิดนั้นคือ red sandalwood หรือในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus จากชื่อก็บ่งบอกว่าไม้ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับ sandalwood มาก (santalinus แปลว่ามีลักษณะคล้าย sandalwood) ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ red sandalwood ไม่มีกลิ่นหอม ไม้ชนิดนี้เป็นญาติใกล้ชิดกับประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ที่เป็นไม้สัญลักษณ์ประจำประเทศพม่าอีกด้วย

เนื่องด้วย red sandalwood มีเนื้อไม้สีแดงก่ำ (รวมไปถึงต้นประดู่ป่าด้วย) ประกอบกับในพุทธประวัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่า”ไม้แก่นจันทน์แดงดั่งครั่ง” นั้นมีกลิ่นหอมหรือไม่ จึงอาจเป็นไปได้ว่า บาตรไม้จันทน์แดง เจ้าปัญหาที่เป็นที่มาของการบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ทำจากไม้ red sandalwood หาใช่ไม้จันทน์ที่คนไทยรู้จักไม่ครับ

แล้วในไทยนั้น ไม่มี “ไม้แก่นจันทน์แดง” อยู่บ้างเลยหรือ คำตอบคือ มีครับ ในไทยนั้นมีไม้ในสกุลจันทน์ผาอยู่ (สกุล Dracaena) ไม้ชนิดนี้เมื่อโดนเชื้อรากินเนื้อไม้จากสีน้ำตาลนวล จะกลับกลายเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอมขึ้นมา (คล้ายกับ “ขอนดอก” ที่เกิดจากแก่นพิกุลโดนรากิน) ในตำรายาไทยจะใช้แก่นจันทน์แดงนี้เป็นยาแก้พิษไข้ทุกชนิด เมื่อคำนึงจากเรื่องราวในพุทธประวัติทีว่า บาตรแก่นจันทน์แดงนั้นทำจากไม้จันทน์ที่ลอยตามน้ำมา ก็อาจเป็นไปได้ว่าบาตรแก่นจันทน์แดงนั้นอาจทำจากไม้จันทน์ผา ซึ่งระหว่างที่ลอยตุ้บป่องมานั้น เชื้อราได้กัดกินจนไม้จันทน์ผานั้นกลายเป็นสีแดงแล้วได้เช่นกันครับ

อนึ่ง ไม้ในสกุลจันทน์ผาบางชนิดนั้นมีน้ำเลี้ยงสีแดงดั่งโลหิต ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต “โลหิตมังกร” มาแต่ครั้งโบราณ อันว่าโลหิตมังกรนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาแก้สรรพโรคาในตำรายาพื้นบ้านของทั้งทางจีนและอินเดีย โดยจะเน้นรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารเป็นหลักครับ