Monday, August 31, 2015

Coconut story part II - The origin of Thai words for coconut

Last time, I wrote a topic about the root of Thai word meaning clock (nalika) that related to the word meaning coconut. This time, I’ll talk about the root of Thai word for coconut.

Thai word for Coconut can pronounce as “Ma-Prao”. This word is originally derived from the Malayayan word Koppara “the coconut meat”. After adaptation, the koppara is come to Prao for easily pronunciation in Thai then adding the prefix Ma (derived from “Marg” means fruits in Thai language) to become Ma-Prao in this present. The word Koppara is also believe that is the root for word Copra that used to called the dried coconut meat, too. 

The word Koppara sounds like Kallapa, which is the sacred tree of anything that one can wish for, growing in the era of Metteya the next Buddha. This might come from the numerous usefulness of coconut tree, so Indian people respect the coconut and give it the Kallapa name.

The norm to called coconut as Kallapa was passing through Malaysia and Indonesia continent. They called this plant as Kalapa. The name Kalapa is also given to the island in Indonesia, which is rich of coconut in its continent (this island is currently Jakarta). In Thailand, Kalapa is known as the city famous in imported high-quality mirror, hat and rose apple. The word calling coconut shell in Thai “Kala” might be related to the Kalapa word.

"Kala" - or coconut shell. The three "eyes" make it looks more like the real human skull. 

Moreover, another word called the coconut shell in Thai is “Ka-loag”, which also means “skull” in Thai. This way of naming is identical to the root word of coconut, which originally derived from Spansh word “coco” means “skull”. How wonder that two isolated countries have the similar way to name a plant!

เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๒ - ที่มาของคำว่ามะพร้าวและกะลา

จากคราวที่แล้วที่พูดถึงที่มาของคำว่านาฬิกา ที่มาจากการนำกะลามะพร้าวมาลอยน้ำใช้ต่างอุปกรณ์จับเวลา มาในครั้งนี้จึงขอพูดถึงที่มาของคำว่ากะลาและมะพร้าวกันบ้าง

คำว่ามะพร้าวนั้นฟังดูเผิน ๆ ก็เหมือนคำไทยแท้ แต่แท้จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากคำภาษาอินเดีย (เช่นเดียวกันกับคำว่านาฬิกา แต่คำหลังนี้ยังพอมีสัณฐานให้ดูออกได้ว่ามาจากภาษาต่างประเทศจริง) 

คำว่า "พร้าว" นั้น เหล่าปราชญ์บัณฑิตสันนิษฐานกันว่ามาจากคำภาษามาลายายัน กอปปารา (Koppara) ซึ่งหมายถึงมะพร้าวแก่หรือมะพร้าวห้าว (คำนี้ต่อมาได้กลายเป็นที่มาของคำว่า Copra ที่ฝรั่งใช้เรียกเนื้อมะพร้าวเช่นกัน) เชื่อกันว่าคำนี้พอรับเข้ามาในประเทศไทยก็เพี้ยนกลายเป็นคำว่าพร้าว (Prao) ก่อนที่จะมีการเติมคำว่ามะ (กร่อนเสียงมาจากคำว่าหมากที่แปลว่าผลของต้นไม้) เพื่อสื่อว่าเป็นผลของต้นพร้าว จึงกลายเป็นมะพร้าวในปัจจุบัน

นอกจากนี้ คำว่า กอปปารานั้น ออกเสียงคล้ายกับคำว่า กัลป ของต้นกัลปพฤกษ์ หรือไม้สารพัดนึก สันนิษฐานกันว่าเนื่องจากต้นมะพร้าวนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทุกรูปแบบ ชาวอินเดียจึงมีความนับถือและเชื่อว่าต้นมะพร้าวนั้นก็คือไม้กัลปฟฤกษ์นั่นเอง จึงเรียกขานชื่อต้นไม้ชนิดนี้กันว่ากัลป

การเรียกต้นมะพร้าวว่าไม้กัลปพฤกษ์นั้นได้แพร่จากอินเดียเข้ามาสู่แถบคาบสมุทรมลายู (ปัจจุบันคือมาเลเซีย) และอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน โดยภูมิภาคแถบนั้นจะออกเสียงว่ากะลาปา คำ ๆ นี้ยังใช้เรียกเกาะในอินโดนีเซียที่มีต้นมะพร้าวขึ้นเยอะด้วยเช่นกันว่าเกาะกะลาปา (คือบริเวณเมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน) คนไทยจะรู้จักคำนี้ในชื่อกะหลาป๋า หากใครเคยอ่านเรื่องระเด่นลันไดก็อาจจะคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้ดี คำว่ากะลาปาหรือกะหลาป๋านี้ยังอาจเป็นที่มาของคำว่ากะลาอีกด้วยเช่นกัน 

กะลามะพร้าว จากสันฐานจะเห็นว่าคล้านกับกะโหลกศีรษะมนุษย์จริง ๆ 

อนึ่ง ในเมืองไทยสมัยก่อนนั้น เราจะเรียกส่วนเปลือกนอกแข็ง ๆ ที่หุ้มเนื้อมะพร้าวของมะพร้าวว่ากะโหลก ซึ่งการเรียกส่วนนี้ว่ากะโหลกนั้นไปพ้องกับรากศัพท์ของคำว่ามะพร้าวในภาษาอังกฤษ (coconut) ว่า "coco" ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นภาษาสเปนหมายถึงกะโหลก (ทีมาของการใช้คำนี้เรียกมะพร้าว เพราะเปลือกนอกของผลมะพร้าวส่วนกะลานั้นมีสัณฐานคล้ายกะโหลกศีรษะมาก) ก็นับว่าแปลกดีที่ทั้งไทยและเทศต่างมีมองว่ามะพร้าวนั้นคล้ายกะโหลกศีรษะเหมือนกันนะครับ

Sunday, August 30, 2015

เรื่องของมะพร้าว ตอนที่ ๑ - ที่มาของคำว่า "นาฬิกา"

วันก่อนได้ลองชิมนมรสใหม่ ที่เป็นรสน้ำมะพร้าวอ่อนแล้ว ก็พบว่าอร่อยดีใช้ได้เหมือนกันครับ กลิ่นมะพร้าวอ่อน ๆ กลบกลิ่นนม บวกกับรสไขมันของนมทำให้รสมะพร้าวเข้มข้นขึ้น ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่อร่อยทีเดียวครับ

กินเสร็จ ก็นึกขึ้นมาได้ว่ามะพร้าวนั้นมีความเกี่ยวพันกับเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันชนิดหนึ่งเป็นอย่างมาก สิ่งนั้นคือนาฬิกา จึงขอนำเรื่องราวของนาฬิกามันบันทึกไว้ในที่นี้

มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera อยู่ในวงศ์ Arecaceae หรือไม้วงศ์ปาล์ม ส่วนที่ใช้บริโภคเป็นหลักคือส่วนของเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งสองส่วนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมล็ดมะพร้าว (ส่วนของผลมะพร้าวจริง ๆ นั้นคือส่วนที่เป็นกะลามะพร้าว) มะพร้าวนี้ในภูมิภาคทางใต้ของอินเดียจะเรียกกันว่า "นาฬิเก" (nalikel ในภาษาเตกูลู) ซึ่งคำ ๆ นี้เป็นทั้งชื่อเรียกผลมะพร้าวในภาษาอินเดีย และชื่อเรียกเกาะ ๆ หนึ่งในภาคใต้ของอินเดียที่มีต้นมะพร้าวอุดมสมบูรณ์ มีบันทึกไว้ว่าในสมัยก่อนชนพื้นเมืองบนเกาะนาฬิเกนั้นจะบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลัก ไม่มีการทำไร่เพาะปลูกใด ๆ ทั้งสิ้น

ลูกมะพร้าว ถ่ายที่ซอยสวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

แล้วมะพร้าวหรือนาฬิเกมาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์บอกเวลาที่ในปัจจุบันนี้เราเรียกว่านาฬิกาได้อย่างไร ก็ด้วยในสมัยก่อนเมื่อยังไม่มีนาฬิกากลไกนั้น ก็ต้องอาศัยดูเวลาจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแล้วเปรียบเทียบเอา หนึ่งในนั้นคือการเอากะลามะพร้าว (หรือนาฬิเก) มาลอยน้ำให้ค่อย ๆ จมลง เมื่อกะลาจมลงถึงก้นภาชนะก็นับเป็นหนึ่งช่วงเวลา คือ "หนึ่งนาฬิเก" เมื่ออุปกรณ์กลไกบอกเวลาเข้ามาถึงประเทศไทย จึงนำชื่อนาฬิเกนั้นไปตั้งเป็นชื่อของอุปกรณ์ชนิดนั้น ๆ ด้วย เมื่อเวลาผ่านไปคำเรียกก็เพี้ยนไปให้ง่ายต่อการออกเสียงกลายเป็นนาฬิกา ดังที่ใช้อยู่ในไทยในปัจจุบันนั่นเอง

Coconut story part I - coconut and clock in Thailand

I happened to have a chance to taste the new daily product, the coconut water flavor in the previous days. The odor of fresh coconut, combines with the sweet & oily taste of cow milk is quite a good match. Overall, it taste good and worth my spent money.

In Thai language, the world means clock (na-li-ka) has a strong relationship with the coconut. However, I should start with a brief description of coconut.

Coconut or Cocos nucifera is a plant in Araceceae family (the palm tree family). The consumable parts are the flesh and the water, which is indeed the endosperm – a part of the seeds. The real coconut “fruit” is the husk and the hard shell surrounded the “flesh” and “water”. 

Coconut fruits, Taling Chan District, Bangkok

In the southern India, coconut is called in Tegulu as “nalike”. This name was given to both the coconut itself and the island located in Southern India, where numerous coconut trees are grown. The legend says that the native people of this island ate coconut as the main ingredient of their diet. 

Then what is the relationship between coconut and clock in Thailand? In the past, Thai people use the hard shell of coconut (called “Kala” in Thai) for many purposes, including for time count. They were placed the pored coconut shell in the container filled with water and wait until the shell was sunken into the bottom of the container and set as one cycle of the time count. They named this time count as “one Nalike” after the name of coconut in Tegulu. When the mechanical clock firstly arrives in Thailand, Thai people given the name Nalike to the clock, as a symbol informed that this is the tool to tell time. Time past and the name was chance, for easier pronounce, as “nalika”. Nowadays, the word nalika is officially used in Thailand as the clock. 

So the Thai word for clock is originally derived from the name of the coconut in Tegulu.

Friday, August 28, 2015

Shǔqúcǎo, the precious weed in Chinese Ghost Festival

Today (28 Aug 2015) is the Chinese Ghost Festival day in Thailand, so I think I could write about some plant that relate to this festival.

The Chinese Ghost festival day is the day Chinese people believe that the spirits includes their ancestors come out from the netherworld to the human world. So it’s the important task to prepare food to offer them when they’re arriving. The most common food used in this festival is the pyramid-shape stuffed dough.

Originally, this stuffed dough’s pastry is mixed with some kind of weed known as shǔqúcǎo or Gnaphalium affine, a member in Compositae family. This plant is a kind of nativecudweed in East Asia region. Due to its peasant aroma, shǔqúcǎo was used in many Chinese cuisine, both food and sweets. It also contains numerous benefits as the medicinal herb, for example, it is traditionally used as antitussive, expectorant, febrifuge.

Gnaphalium spp., Phu Thap Boek, Phetchabun province.

Although it is the native plant in East Asia region, shǔqúcǎo can be found at high attitude region in Thailand, too. However, there is no official Thai name given to this plant until the present day. Other Gnaphalium plants found in Thailand (G. hypoleucum and G. polycaulon) also don’t have Thai name.

ฉื่อคัก วัชพืชเลอค่าประจำเทศกาลสารทจีน

เนื่องจากวันนี้ (28 ส.ค. 58) เป็นวันสารทจีน เลยขอเขียนอะไรจีน ๆ หน่อยก็แล้วกันครับ

ตามความเชื่อแล้ว วันสารทจีนเป็นวันที่ประตูยมโลกเปิดออกให้วิญญาณของผู้วายชนม์ทั้งหลายได้หวนคืนกลับสู่โลกมนุษย์อีกครั้งในรอบปี ในวันนี้วิญญาณบรรพชนจะได้กลับมาเยี่ยมเยือนบุตรหลาน จึงเป็นธรรมเนียมที่บุตรหลานจะต้องตระเตรียมของเซ่นไหว้บรรพชนของตนกันให้ครบทั้งคาวหวาน หนึ่งในของไหว้ที่ขาดไปไม่ได้ คือขนมเทียนนั่นเอง

ตามตำรับดั้งเดิมแล้วตัวแป้งขนมเทียนนั้นจะผสมหญ้าชนิดหนึ่งลงไปด้วย คือหญ้าที่มีนามว่า "ฉื่อคัก" พืชชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gnaphalium affine เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับพวกทานตะวัน พืชชนิดนี้มีสรรพคุณทางยามากมาย ในฐานะสมุนไพรแล้วมีการนำไปใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ลดไข้ ปวดตามข้อ แก้ตกขาวและอื่น ๆ เนื่องจากมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงมีการนำไปผสมในอาหารหลายชนิด อาหารที่มีฉื่อคักเป็นส่วนประกอบที่โด่ดังคือ ฉื่อคักก้วย ซึ่งถือเป็นขนมเก่าแก่ของแต้จิ๋วที่ปัจจุบันยังคงพอหาทานได้ในย่านคนจีน เช่นในเยาวราชเป็นต้น

ดอกพืชตระกูลฉื่อคัก ภูทับเบิก จ. เพชรบูรณ์

พืชชนิดนี้พบเจอเป็นพืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แต่สามารถพบเจอเป็นพืชพื้นถิ่นในแถบภูเขาสูงในไทยได้ด้วยเช่นกัน แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่มีชื่อไทยอย่างเป็นทางการให้แก่พืชชนิดนี้ ถึงแม้ในบางท้องถิ่นมีการเรียกว่า หนาดคำน้อยก็ตาม


อนึ่ง พืชในสกุลนี้ที่พบเป็นพืชท้องถิ่นในไทยมีด้วยกันสามสายพันธุ์ คือ Gnaphalium affine, Gnaphalium hypoleucum และ Gnaphalium polycaulon ซึ่งทั้งสามชนิดนี้ล้วนแล้วแต่ยังไม่มีชื่อไทยอย่างเป็นทางการครับ

Kalamet (Chan), from the cosmetic to the executed tool

The previous Thanaka topic was mentioned about Kalamet, as a part of Thai traditional cosmetic as well as thanaka. This time I’d like to write about the Kalamet itself.

Kalamet or in Thai “Chan” is a plant with the scientific name Mansonia gagei, a member of Sterculiaceae family. It is the native species of the South-Eastern Asia continent. In the ancient time, this plant is valuable merchandise, because of its aromatic heartwood. The trading of Kalamet in that time was authorized only by the government, in other words, by the Royal families. It also is traditional use as folk medicine as cardiac stimulant, antivertigo, antiemitic, antidepressant and refreshment agents.


 Mansonia gagei flower (Pictures from the website of  the Forest Herbarium
 Department of National Parks,Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand.)

Since Kalamet is high value, it was used in numerous ways especially for building. The highest use of kalamet in building was at Vientiane, Laos. This city was originally called “Viang Tai Mai Chan”, which means “The city that the fences were built from the Chan wood” – indicating that the fences of this town once were built from the wood of Mansonia gagei.

Set aside from the cosmetic, medicine and building, the kalamet is also used as executed tool for the Nobles. It’s the traditional custom in this country that the blood of the Nobles must not be spilled since it’s like the bad omen for the whole country. Because of this custom, when the Nobles were sentenced to death. They were executed by smashing with a bunch of kalamet wood until they died. This custom also found in Myanmar. The difference is that, in Myanmar, the Noble men were executed by smashing with kalamet wood behind their necks while the women were smashed at the front, to crush their Adam’s apple.

Kalamet is also used after the death, too. Originally, it was used as firewood for the Nobles and Royals. After the decreasing of the kalamet in Thailand, the use of the whole kalamet wood is change. The kalamet wood was cut to the slim pieces and then weaved in a shape of the, and was used in the funeral instead of the whole kalamet wood. This tool (called “dok-mai-chan”) is used until today; even the material is not the kalamet wood anymore. The use of dok-mai-chan is spreading and accepted to the lower class people. Nowadays, dok-mai-chan is used in most of the funeral in Thailand, including my mother's.

จันทน์ จากเครื่องหอมสู่เครื่องประหารเจ้าขุนมูลนาย

ครั้งก่อนเขียนถึงทานาคาหรือกระแจะไว้ แล้วมีการกล่าวถึงไม้จันทน์ในรูปของกระแจะจันทร์เอาไว้ เห็นว่าถ้าไม่เขียนถึงไม้จันทน์ด้วยก็จะไม่ครบจบถ้วนกระบวนความ เลยเขียนเรื่องไม้จันทน์แยกไว้อีกหนึ่ง

ไม้จันทน์ หรือชื่อทางการคือจันทน์ชะมดนั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mansonia gagei เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae เป็นไม้ท้องถิ่นของไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ในอดีต (รวมถึงในปัจจุบัน) จัดเป็นสินค้าเศรษฐกิจราคาแพง ชนิดที่รัฐบาล (ในสมัยนั้นคือราชวงศ์) เป็นผู้ผูกขาดการค้าเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว ด้วยไม้จันทน์นั้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยในแก่นไม้ ในทางยาแล้วมีการนำไปใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน แก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นยาระงับประสาทและกระตุ้นความสดชื่นให้แก่ร่างกาย

ต้นจันทน์ (ภาพจากก website ของสำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช,
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)

ด้วยไม้จันทน์เป็นไม้เนื้อดีมีกลิ่นหอม จัดเป็นของสูงในสมัยก่อนจึงนิยมนำไปสร้างตำหนักราชวังต่าง ๆ เมืองที่มีการนำไม้จันทน์ไปสร้างสิ่งปลูกสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือเมืองเวียงจันทน์ สมัยก่อนเวียงจันทน์มีชื่อเต็มว่า "เวียงต้ายไม้จันทน์" แปลได้ว่าเมืองที่มีรั้วกำแพงเมืองทำด้วยไม้จันทน์ เมื่อเวลาผ่านไปชื่อเมืองก็ถูกเรียกกร่อนลงจนเหลือเพียงเวียงจันทน์

นอกจากใช้ในทางสิริมงคล เช่นสร้างเมืองหรือเครื่องสำอางแล้ว ไม้จันทน์ยังเกี่ยวข้องกับทางอวมงคลด้วย ด้วยถูกใช้เป็นเครื่องประหารชีวิตบรรดาเจ้านายชั้นสูงทั้งหลายอีกด้วย ด้วยเป็นธรรมเนียมว่าเชื้อพระวงศ์นั้นห้ามกระทำให้เลือดตกยางออกหยดลงแผ่นดิน จะบังเกิดเป็นอุบาทว์แก่ชาติบ้านเมือง จึงต้องสำเร็จโทษด้วยการทุบเพื่อมิให้เกิดบาดแผลขึ้น ธรรมเนียมนี้มีปรากฏในพงศาวดารพม่าด้วยเช่นกัน โดยทางพม่านั้นหากจะประหารเจ้านายบุรุษให้ทุบด้วยท่อนจันทน์ที่ท้ายทอย หากเป็นเจ้านายฝ่ายหญิงให้ทุบด้านหน้าให้กระเดือกแตก

นอกจากใช้เป็นเครื่องประหารแล้ว ไม้จันทน์ยังใช้ประกอบในพิธีศพต่อไปอีกด้วย โดยไม้จันทน์นั้นดั้งเดิมถูกใช้เป็นฟืนเผาพระบรมศพเท่านั้น ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ จำนวนไม้จันทน์มีให้ใช้ลดลง จึงมีผู้คิดประดิษฐ์นำไม้จันทน์มาฝานบาง ๆ ก่อนจะถักสานให้ออกมามีรูปร่างสวยงามเป็นดอกไม้ แล้วเรียกกันว่าดอกไม้จันทน์ ดอกไม้จันทน์นี้มีใช้กันแพร่หลายตกทอดมาจนถึงในปัจจุบันกัน แม้ในปัจจุบันจะใช้วัสดุอื่น ๆ ในการทำแทนไม้จันทน์แล้วก็ยังคงเรียกขานกันว่าดอกไม้จันทน์อยู่ เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษมาถึงปัจจุบันนั่นเอง

จากข้างต้น จะเห็นได้เลยว่าไม้จันทน์นั้นเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันจริง ๆ

Thursday, August 27, 2015

Thanaka (Kra-chae), the traditional UV protection cosmetic

Last winter, I had a chance to backpacking to Myanmar for the second time in my life, since the first time is in the summer two years ago (For about my traveling experience to Myanmar, I’ll find a chance to write in this blog in near future.).

One famous thing in Myanmar is the beauty of Myanmese women. The elegant skin of Myanmese girls was told since the ancient era, even  in Thailand there is a idiom described as “she who has Myanmese’s skin and Indian’s eyes” – indicating that the skin like Myanmese people and the brighten-rounded eye like Indian people is the ideal of beauty in Thailand in the ancient time. The secret of the Myanmese-stype beauty is, of course, the magnificent cosmetic called “Thanaka”

Thanaka is the wood powder originally made from the Rutaceous plant named Naringi crenulata (synonym: Hesperethusa crenulata). However, current thanaka available in the market is also made from other plant in Rutaceae family, for example, Murraya spp. and Limonia acidissima or the wood-apple. 

Compressed thanaka powder from Bogyoke Aung San Market, Yangon, Myanmar.

Thanaka (as Naringi crenulata wood) is interested from its UV protecting effect, as well as antioxidant and anti-acne activities. No wonder why Myanmese people have smooth and silky skin since most of them always use thanaka. Moreover, some plants that are used to made thanaka product like Limonia acidissima also contain antioxidant and anti-acne activities, although there is no comparative report between them that which one is the best to be a thanaka.

Myanmese girl with leaves-figure thanaka on her cheek,
Kuthodaw Pagoda, Mandalay, Myanmar.

Thanaka is also the main cosmetic used in Thailand since a long time, but we know in the name of “Kra-chae”. In the traditional way of use in Thailand, thanaka is mixed with sandalwood or Kalamet and other stuff and then called “Kra-chae-chan”. This cosmetic was widely used in the past, even mentioned in numerous literature and folklore. Nowadays, Kra-chae-chan is not more than a rumor or a legend that cannot be existed in the present time. Thai people ignore local Kra-chae in their hometown and travel abroad to Myanmar, just to buy Thanaka back to sell in their country. What a shame!

ทานาคา เครื่องประทินผิวป้องกันรังสียูวีมาแต่โบราณกาล

เมื่อปีกลาย ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศพม่าเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรกคือสองปีก่อนหน้านี้) โดยครั้งนี้เป็นการเที่ยว backpack เข้าลึกไปยังใจกลางประเทศพม่า โดยจุดหมายคือเมืองมัณฑะเลย์และพุกาม (เรื่องประสบการณ์เที่ยวพม่านั้นจะเขียนถึงในโอกาสถัด ๆ ไปครับ)

แน่นอนเมื่อพูดถึงพม่าแล้วสิ่งหนึ่งที่จะนึกถึงได้เลยคือความงามแบบสาวพม่า ชาวพม่านั้นขึ้นชื่อเรื่องผิวงามมาแต่ครั้งโบราณจนมีคำพังเพยเอ่ยถึงความงามของอิตถีเพศเอาไว้ว่า “ผิวพม่า นัยน์ตาแขก” คือผิวเนียนสวยแบบสาวพม่า และมีตากลมโตสุกใสแบบสาวแขก หนึ่งในเคล็ดลับความงามของสาวพม่านั้นเกิดจากเครื่องประทินโฉมที่ชาวพม่าใช้กันในเกือบทุกครัวเรือน นั่นคือ “ทานาคา” นั่นเอง (ไม่ใช่ครีมสเตียรอยด์ทาฝ่าเท้าที่มีโฆษณาทางเนตว่าเป็นครีมพม่าแต่อย่างใดนะครับ)

ทานาคา หรือ Thanaka นั้นเป็นผงเนื้อไม้ ดั้งเดิมเลยทำจากเนื้อไม้ของต้นที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Naringi crenulata หรือ Hesperethusa crenulata ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Rutaceae หรือวงศ์ส้มมะนาวนั่นเอง อย่างไรก็ตามทานาคาที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันนั้นมีการนำไม้ในวงศ์ Rutaceae อื่น ๆ มาทำด้วย อาทิพืชในสกุลแก้วหรือมะขวิดเป็นต้น 

ทานาคาอัดแท่ง ซื้อจากตลาดสก็อต ย่างกุ้ง ประเทศพม่า

ทานาคานั้นได้รับความสนใจในหมู่นักวิจัยเนื่องจากตัวเนื้อไม้ของ Hesperethusa crenulata นั้นมีสรรพคุณป้องกันนรงสียูวีที่ไปทำลายชั้นคอลลาเจนใต้ผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันการเกิดสิวได้อีกด้วย นับว่าทานาคานั้นเป็นเครื่องประทินผิวที่เหมาะกับเมืองร้อนเช่นในแถบเอเชียอาคเนย์นี้จริง ๆ อนึ่งพืชในสกุลแก้วกับมะขวิดที่มีการนำมาทำเป็นทานาคาด้วยนั้นก็มีฤทธิ์รักษาผิวและต้านอนุมูลอิสระด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีการเปรียบเทียบว่าใครมีฤทธิ์ดีกว่ากัน

เด็กสาวพม่าทาทานาคา ถ่ายที่วัดกุโสดอ มัณฑะเลย์

ไม่เพียงแต่ในพม่าเท่านั้น ทานาคายังมีการใช้เป็นเครื่องประทินโฉมในเมืองไทยมาแต่ครั้งโบราณ โดยคนไทยนั้นจะรู้จักกันในชื่อกระแจะ โดยจะนำไปผสมกับไม้จันทน์เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและเรียกรวมกันว่ากระแจะจันทน์ ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนว่า “ซับเหงื่อด้วยเนื้อสไบนาง กระแจะจวงจันทน์นางละลายทา” กระแจะนั้นจึงอยู่คู่กับความงามของสาวไทยมาแต่ครั้งโบราณแล้วนั่นเองครับ

Wednesday, August 26, 2015

Mon-Tha, the imported Buddha-history tree

One of the important plants in the Buddha history, although less known compared to Bodhi tree or Sal tree, is the Mon-Tha tree – a celestial plant. According to the Buddha history, this plant is growing on the heaven and cannot be found on earth. Its flower would fall down to the earth only in eight Buddha-related important events, including when the Buddha reaching the nirvana. The Buddha history also informed that, after the Buddha reachind nirvana for seven days, Mahakasyapa and other sangha were going to Kusinara to grant the audience to the Buddha. Before reaching Kusinara, they saw a man carrying Mon-Tha flower as umbrella to protect the sunlight, so they knew that the Buddha was already reaching the nirvana.

In this present in Thailand, the Mon-Tha name was given to one kind of plant which is known as Egg Magnolia (Talauma candollei, synonym Magnolia liliifera), one of the magnolia plants that resemble of Dwarf Magnolia (Magnolia coco), except that the Egg magnolia has yellow petal while Dwarf magnolia is white. 

Mon-Tha flower, Wat Phra Kaew, Chiang Rai province.
However, Egg Magnolia is not the native plant in Thailand territory (the native Magnolia liliifera in Thailand is the variation obovata (Korth.) Govaerts, known as Boon-Tha in Thai). The native habitat and how the Egg Magnolia came in Thailand are still unclear. One hypothesis indicated that this plant might come from Java (currently Indonesia) and pass through Thailand from the south part of Thailand. This hypothesis was supported by the information in Enau, a Thai literature based on an Indonesian literature “Hikayat Panji Semirang”. In one chapter of Enau, it informed that the Egg Magnolia was firstly come from Java.

Moreover, there are some Thai native plants contain “Mon-Tha” in their name, Mangnolia garrettii (Mon-Tha-Doi) and Magnolia hookeri (Mon-Tha-Ang-Khang). These plants might be the Mon-Tha in the Buddha history. However, the current official “Mon-Tha” is Egg Magnolia tree.

มณฑา ไม้ในพุทธประวัติที่นำเข้าจากต่างแดน

ดังที่ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้าว่าเรื่องราวในพุทธประวัตินั้นมีเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับพรรณไม้หลากชนิด หนึ่งในพรรณไม้ที่มีความสำคัญในพุทธประวัติที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนักคือมณฑา ตามพุทธประวัติแล้วดอกมณฑานั้นเป็นไม้สวรรค์ไม่มีอยู่บนโลกมนุษย์ จะอุบัติร่วงหล่นลงมายังโลกในวาระสำคัญ 8 ประการเท่านั้น คือ ยามเมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จลงมาจุติยังครรภ์มารดา ยามประสูติ ยามเสด็จออกผนวช ยามตรัสรู้ ยามตรัสปฐมเทศนา ยามทำยมกปาฏิหาริย์ ยามเสด็จกลับจากเทวโลก และยามเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 

หนึ่งในเหตุการณ์ที่มีการกล่าวถึงดอกมณฑา คือยามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วเป็นเวลา 7 วัน พระมหากัสสปะได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ระหว่างทางพบชาวเมืองกุสินาราเดินถือดอกมณฑาเสียบไม้ใช้ต่างร่มบังแดด จึงทราบขึ้นได้ในบัดดลว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในปัจจุบัน นามของดอกมณฑานั้นถูกนำมาตั้งเป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งในโลกมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Talauma candollei หรือ Magnolia liliifera ดอกมณฑาเป็นไม้ในตระกูลแมกโนเลียที่มีลักษณะคล้ายยี่หุบ คือยามบานดอกจะไม่บานเต็มที่เหมือนแมกโนเลียชนิดอื่น ๆ ต่างกันที่ยี่หุบนั้นมีกลีบดอกสีขาว ส่วนมณฑานั้นมีกลีบดอกสีเหลืองทอง

ดอกมณฑา ถ่ายที่วัดพระแก้ว จ.เชียงราย

อย่างไรก็ดี มณฑานั้นมิได้เป็นไม้ท้องถิ่นของประเทศไทยมาแต่เดิม (Magnolia liliifera ที่เป็นไม้พื้นเมืองของไทยนั้นจะเป็น variation obovata (Korth.) Govaerts มีชื่อไทยว่าตองแข็งหรือบุณฑา) ส่วนถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมณฑานั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่เข้ามาในไทยทางภาคใต้จากอินโดนีเซีย ด้วยมีบันทึกในบทละครเรื่องอิเหนา ที่นำเค้าโครงเรื่องมาจากวรรณคดีของอินโดนีเซียมีกล่าวถึงมณฑาไว้ว่า “ต้นมณฑามาแต่แขกแรกมี” จึงสันนิษฐานว่าชาวไทยน่าจะนำเข้ามณฑามาจากอินโดนีเซียนั่นเอง


อนึ่ง มีไม้พื้นถิ่นของไทยบางชนิดที่มีนามมณฑาอยู่ในชื่อเช่นกัน ได้แก่มณฑาดอย (Mangnolia garrettii) และมณฑาอ่างขาง (Magnolia hookeri) เนื่องจากลักษณะของดอกมณฑาสวรรค์ที่มีบรรยายในพุทธประวัตินั้นไม่แน่ชัด จึงอาจเป็นได้ว่า "มณฑา" ในพุทธประวัตินั้นอาจจะเป็นหนึ่งในไม้สองชนิดนี้ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหากเอ่ยถึง "มณฑา" แล้วก็จะนับเฉพาะพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnolia liliifera เท่านั้น

Tuesday, August 25, 2015

What is the exactly "Sal tree" described in the Tripitaka?

Because in last time I wrote the story of Bodhi tree as a part of the Buddha history, I was curious and interesting in the content of this history, which involved a lot of plants occur in Indian peninsula. One of the most important plants in the Buddha history, besides the Bodhi tree, is the Sal tree. Thia plant is connected to both the birth and the death of the Buddha. The Tripitaka informed that Queen Maya (Prince Siddhārtha’s mother) gave birth to him under the Sal tree while grasping its branch during the journey to her hometown. The Buddha then reached nirvana under the couple of Sal trees, too.

The Sal tree has the scientific name as Shorea robusta. The Indian myth told that this plant was born from one of the Indian goddress. She then told human that this plant is the great timber that suits for building house. This might be the origin of the name “Sal” (derived from sala - “house”) came from. Its scientific name also described this property as robusta means strong in Latin.

In Thai-language Tripitaka, Sal tree was translated to be the Rang tree (Shorea siamensis). Unlike Sal tree, this plant is the native species in indochina continent. Their appearance is almost identical, except in the minor detail, for example, the withered leaves of Sal tree are yellow while the Rang tree is red. One possible reason for this confusion between the Sal tree and Rang tree in Thailand might come from the native name of Sal tree in some region in India, which is called Harang tree. The “Harang” sound resemble to Rang in Thai and might cause the misunderstanding that “Harang” is Rang tree.

Another sound-alike plant of Sal tree is the cannonball tree or Couroupita guianensis, the native plant from South Africa continent. In Sri Lanka (and other countries like Indonesia), this plant is called “Sala”, which is sound like Sal tree and some people misunderstand that this plant is the Sal tree in Tripitaka. This misconception was passing through to Thailand, so nowadays you can see the cannonball trees are cultivated in many Thailand’s temples.
From left to right: The flowers of Rang tree, Sal tree and cannonball tree (Pictures from the website of  the Forest Herbarium, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand.)

พรรณไม้ใดคือ "สาละ" ในพุทธประวัติที่แท้จริง

จากที่ครั้งก่อนได้เขียนเรื่องต้นโพธิ์ไป เลยมาลองรื้อหนังสือเกี่ยวกับพุทธประวัติที่มีอยู่ดู ก็พบว่าในพุทธประวัตินั้นมีการเอ่ยถึงบรรดาพรรณไม้ต่าง ๆ มากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นที่คนไทยรู้จักกันดีและมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าต้นโพธิ์เลยก็คือต้นสาละ ด้วยตามพุทธประวัติแล้ว ไม้ชนิดนี้เกี่ยวเนื่องกับพระประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติจนถึงดับขันธ์ปรินิพพาน ดังปรากฏไว้ในพระประวัติยามประสูติว่า เมื่อครั้นที่พระนางสิริมหามายาได้เสด็จกลับสู่นครเทวทหะ เมืองต้นตระกูลของนางเพื่อเตรียมตัวคลอดนั้น ระหว่างทางได้ดำเนินมาถึงใต้ต้นสาละแล้วเกิดความปรารถนาที่จะหยุดพักผ่อนอิริยาบถ จึงหมายใจจะจับกิ่งต้นสาละยึดพระวรกายไว้แต่กิ่งนั้นอยู่สูงจนไม่อาจเอื้อมไปถึง พลันกิ่งต้นสาละนั้นก็น้อมต่ำลงมาเองจนพระนางเอื้อมถึง เมื่อทรงจับกิ่งยึดพระวรกายไว้แล้วก็บังเกิดอาการประชวรพระครรภ์จนให้กำเนิดเจ้าชายสิทธัตถะขึ้น ณ ใต้ต้นสะละนั้นเอง อีกครั้งหนึ่งที่ต้นสาละถูกกล่าวถึงในพุทธประวัติคือยามเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ด้วยกล่าวกันไว้ว่าพระองค์ทรงทอดกายลงใต้ร่มต้นสาละคู่ ก่อนจะทรงละสังขารไป

ต้นสาละนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Shorea robusta ตามตำนานพื้นบ้านของอินเดียแล้ว กล่าวถึงต้นกำเนิดไว้ว่าถือกำเนิดจากเจ้าแม่นิรันตาลี โดยเจ้าแม่ได้เอ่ยถึงคุณประโยชน์ของต้นสาละไว้ว่า เป็นไม้เนื้อแข็งมีคุณสูงนัก จักใช้ทำประตูหรือทำบ้านก็ได้ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อสาละในภาษาสันสกฤต “sala” ที่แปลว่าบ้าน เป็นการบอกเป็นนัยว่าไม้ชนิดนี้เหมาะนำไปทำตัวเรือนบ้านนัก (ซึ่งก็ไปพ้องกับชื่อวิทยาศาสตร์ของไม้ชนิดนี้เช่นกัน ด้วยคำว่า robusta นั้นมีความหมายว่าแข็งแกร่ง) นอกจากนี้แล้วยางของต้นสาละยังมีการใช้เป็นสมุนไพรสมานแผลและรักษาโรคผิวหนังได้อีกด้วย

ตามประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยก่อนนั้น จะมีการแทนนามต้นสาละว่าต้นรัง ดังปรากฎอยู่ในนิราศพระแท่นดงรัง ที่สร้างขึ้นจำลองสถานที่ปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ว่า ในสมัยก่อนนั้นแต่เดิมมีต้นรังขึ้นอยู่ริมพระแท่นข้างละต้น โน้มยอดเข้าหากัน (นัยว่าเพื่อจำลองสภาพให้เหมือนตอนพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานจริง ๆ ) แสดงให้เห็นว่าในสมัยก่อนนั้นเข้าใจกันว่าต้นรังและต้นสาละเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกัน แต่ในทางพฤกษศาสตร์ปัจจุบันแล้วจะแยกต้นรังกับต้นสาละออกเป็นไม้คนละต้นกัน โดยต้นรังนั้นปัจจุบันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Shorea siamensis (จะเห็นจากชื่อได้ว่าเป็นไม้สกุลเดียวกันกับต้นสาละ) โดยต้นรังนั้นถือเป็นพืชท้องถิ่นในภูมิภาคอินโดจีน ต่างจากต้นสาละที่ในธรรมชาติจะพบกระจายตัวในแถบคาบสมุทรอินเดียเท่านั้น ทั้งนี้ต้นสาละและต้นรังนั้นมีลักษณธที่คล้ายคลึงกันมาก แตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อ อาทิ ใบแก่ของต้นรังจะมีสีแดง ส่วนของต้นสาละจะเป็นสีเหลืองนอกจากนี้ในบางท้องถิ่นของอินเดียเองมีการเรียกต้นสาละว่า "หะรัง" (Harang) ซึ่งออกเสียงคล้ายต้นรังของไทย จึงสันนิษฐานว่าอาจเป็นจุดให้คนสมัยก่อนสับนว่าต้นสาละคือต้นรัง จึงได้มีการแปลต้นสาละในพุทธประวัติว่าต้นรังก็เป็นได้

เมื่อพูดถึงต้นสาละไปแล้ว จะไม่พูดถึงต้นสาละลังกาไปก็คงไม่ได้ ด้วยไม้สองชนิดนี้นำพาความสับสนมึนงงมาสู่พุทธศาสนิกชนมานักต่อนัก ต้นสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball tree) นั้นมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Couroupita guianensis เป็นไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ คาดว่ากระจายพันธุ์มาถึงคาบสมุทรอินเดียได้ผ่านทางเรือสินค้าของชาวยุโรป พืชชนิดนี้ชาวอินเดีย ศรีลังกาเรียกในภาษาของตัวเองว่า Sala เหมือนกันกับต้นสาละในพุทธประวัติ (รวมถึงในบางท้องถิ่น เช่นอินโดนีเซียเองก็เรียกว่าต้น Sala เหมือนกัน) จึงทำให้มีการหลงเข้าใจผิดว่าเป็นต้นสาละในพุทธประวัติกันได้ ในปัจจุบันจึงมีการเรียกใหม่ว่าเป็นสาละลังกา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นต้นไม้คนละต้นกับต้นสาละในอินเดีย ที่เป็นไม้ในพุทธประวัตินั่นเอง


จากซ้ายไปขวา: ดอกรัง ดอกสาละ และดอกสาละรังกา (ภาพจากก website ของสำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)




The original name of Bodhi tree

Since I am the plant lover (inherit from my mother), my house is surrounded with the numerous plants. Some of them are intentional cultivate, but some of them are suddenly appearing out of nowhere. The Bodhi tree (or the sacred fig) is one of the latter, it suddenly appear in my Jan-par pot. I guess its seed might come from the bird’s poopoo.

Bodhi tree, in Jan-par pot, in my yard

The Bodhi tree has the scientific name as Ficus religiosa. Its name describe clearly that this plant is a fig (Figus) that has a religious important (religiosa). Its fruit is traditionally used as antidiarrheal and food digestant.

In Buddhism, This plant is one of the important plants. It was described in the Tripitaka that Prince Siddhārtha, the current Buddha, was awakening under the Bodhi tree. Nowaday, Bodhi tree is respected as one of the symbol of the Buddha.

However, the truth is the name “Bodhi” is not the name represent the one species of plant. In fact, Bodhi (means “wisdom” or “enlighten”) is the name that given to every single tree that every Buddha are awakening or enlightening. For example, in the era of the Metteya the next Buddha, he will awakening under the tree which is now believe that is the Alexandrian Laurel (Calophylum inophyllum), so in that era this plant will honored as Bodhi tree.

So, what is the original name of the current “Bodhi tree” before Prince Siddhārtha was awakening?

From the Tripitaka, it informed that “Gautama Buddha (the current Buddha), after six years of extreme asceticism,  was discovering the Middle Way and  awakening at Assattha tree near Neranjana river”. This Assattha tree had another name called Pipal tree. So the Bodhi tree in this era is originally called Pipal tree or Assattha tree.


So what about the “Pipal tree” in my house? I guess I have to get rid of it in one day before it grow too much to handle.




นามอันแท้จริงของต้นโพธิ์

ด้วยความที่ผมเป็นคนชอบต้นไม้ (ซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากคุณแม่โดยตรง) ทำให้ในอาณาบริเวณบ้านนั้นมีต้นไม้ใบหญ้ารกครึ้มอยู่ตลอดทั้งปี บางต้นนั้นตั้งใจซื้อหามาปลูกโดยเฉพาะ บางต้นนั้นก็ได้มาด้วยความเสน่หาหรือได้มาจากการแลกเปลี่ยนกันและกัน และยังมีอีกไม่น้อยที่อยู่ดี ๆ มันก็มาของมันเอง คาดว่านกกาน่าจะนำพามาให้ ต้นไหนพอจะเลี้ยงดูได้ก็ปลูกกันต่อ ต้นไหนดูแล้วเป็นภาระก็คงต้องตัดเสียแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะใหญ่โตเกินรับมือไหว

วันก่อนระหว่างที่เดินสำรวจสวน ก็บังเอิญไปพบกับต้นโพธิ์งอกยาวขึ้นมาในกระถางต้นจันผา กำลังโตได้ที่ราวฟุตนึง คาดว่านกกาคงพามาให้อีกเช่นเดิม เมื่อเห็นใบโพธิ์มันระยับยามต้องแดดส่ายไหวไปมายามสายลมพัดผ่าน ก็ชวนให้นึกถึงวัดวาอารามขึ้นมา ด้วยต้นโพธิ์นั้นเป็นต้นไม้สำคัญในทางพุทธศาสนา จึงมปลูกตามวัดกันมากมาย ในขณะที่ตามบ้านเรือนทั่วไปนั้นไม่ใคร่มีใครปลูกกันนัก ด้วยต้นมีขนาดใหญ่ดูแลลำบากหากมีพื้นที่จำกัด


ต้นโพธิ์ งอกในกระถางจันผาที่บ้านของผม

ต้นโพธิ์นั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus religiosa จากชื่อก็บ่งบอกว่าเป็นไม่ในตระกูลมะเดื่อ (Ficus) ที่มีความสำคัญในทางศาสนา (religiosa) ในฐานะสมุนไพรแล้วมีการใช้ผลในการเป็นยาระบายและช่วยย่อยอาหาร

ต้นโพธิ์เป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่มีความสำคัญในพุทธศาสนา ด้วยเป็นที่ ๆ ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ถึงหลักธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้น ต้นโพธิ์จึงได้รับการสักการะและระลึกถึงในฐานะตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตราบจนทุกวันนี้

แต่แท้จริงแล้ว คำว่า "ต้นโพธิ์"นั้นหาใช่ชื่อแสดงสัญชาติของต้นไม้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งไม่ ด้วยคำว่าโพธิ (แปลได้ว่าความรู้หรือการตรัสรู้) นั้นเป็นนามที่ใช้เรียกขานพรรณไม้ใด ๆ ก็ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จมาตรัสรู้ ณ ใต้ร่มชายคาของไม้นั้น ๆ ดังนั้น ในแต่ละยุคสมัยที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนั้น ก็จะมี "ต้นโพธิ์" ต่าง ๆ กันออกไปแล้วแต่ยุค อาทิ พระศรีอาริยเมตไตรย พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจะเสด็จตรัสรู้ใต้ต้นกากะทิง (จากคำพรรณณานั้นมีลักษณะเป็นดั่งไม้ในป่าหิมพานต์ แต่ปัจจุบันมีการนำนามกากะทิงนั้นไปตั้งเป็นชื่อพ้องกับต้นกระทิง (Calophylum inophyllum) แล้ว) ทำให้เมื่อถึงยุคของพระศรีอาริยเมตตไตรย ต้นกากะทิงก็จะได้นามว่าต้นโพธิ์ในยุคนั้นนั่นเอง

ถ้าเช่นนั้น แล้วนามเดิมของ "ต้นโพธิ์" ก่อนทีเจ้าชายสิทธัตถะจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นคืออะไรกันแน่เล่า?

จากบันทึกในพระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิยาย พุทธวงศ์ โคตมพุทธวงศ์ มีระบุไว้ว่า "พระพุทธเจ้าองค์ที่ 28 พระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอยู่ 6 ปี จึงได้ประทับตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธฺญาณ ณ ควงไม้อัสสัตถะ (Assattha) ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา"

ซึ่งไม้อัสสัตถะนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่าต้นปิปปัน (Pippal) จึงสรุปได้ว่า "ต้นโพธิ์" ในยุคปัจจุบันนั้นคือต้นอัสสัตถะหรือต้นปิปปันนั่นเอง

ส่วน "ต้นปิปปัน" ในกระถางต้นจันผาที่บ้านของผมนั้น คงต้องถอนออกก่อนที่มันจะโตไปกว่านี้ เพราะคงไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดเสด็จมาตรัสรู้ที่บ้านของผมแน่นอน