Wednesday, December 30, 2015

Water Hyacinth: the Royal alien species


If you’re traveling by boat in Bangkok, you can see numerous water hyacinths spreading in canals and rivers. Water hyacinth is a threatening species to Thailand’s ecosystem for hundred years. Its magnificent reproductive power can covered its habitat within a few months, letting other hydro species unable to reproduction and extinct. Its thick brush cause oxygens are hard to dissolve in water and the corpses are sunken in the habitat, resulting in polluted water. However, this disastrous plant is not the native species in Thailand. It is the alien species introduced to our country by the Royal family. 

Water hyacinth or Eichhornia crassipes (its species name means “thick foots”, referring to its succulent stems & roots) is originally native to South American region. It was firstly introduced to South East Asia in late 19th century by the Hollanders who rule over Java (now is Indonesia). In Thailand, water hyacinth was firstly imported in around year 1896 by the order of Queen Saovabha Phongsri of King Rama V when they were going to Java. Queen Saovabha Phongsri happened to like the beautifulness of water hyacinth’s inflorescent that resemble to the orchid. Water hyacinths were then firstly planted in Thailand at Phayathai palace and they were successively cultivated. After that, Queen Saovabha Phongsri had an order to planting water hyacinth outside the palace, starting from Samsen canal behind the Phayathai palace, in order to “ to let commoners have a chance to see its beauty”, and the story begun.

Water hyacinth inflorescent (Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Eichhornia_crassipes)

Not so long after the spreading of water hyacinth outside the palace, this plant became the nuisance to local people especially the ones who travel via canal or river. King Rama V had a speech in year 1908, twelve years after the first arrival of water hyacinth in Thailand, mentioned that the water hyacinth was “very dangerous”. In 1910, water hyacinth was introduced in the first agricultural festival in Thailand as “a dangerous & useless plant that everyone should eliminate”. Although in the era of king Rama VI had established the law of eliminating water hyacinth, it wasn’t successful until today. 

Nowadays, water hyacinth once known as the beautiful gift from the queen, are well-known as the disastrous alien species.

ผักตบชวา: alien species พระราชทาน

ในสมัยที่ผมยังทำงานที่โรงพยาบาลศิริราชนั้น จำเป็นที่จะต้องนั่งเรือข้ามฟากเพื่อไปทำงานอยู่เสมอ ทุกครั้งที่นั่งเรืออยู่นั้น ก็จะเห็นผักตบชวาลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา มากบ้างน้อยบ้างอยู่เสมอ ไม่เคยเลยที่จะไม่เห็นผักตบชวาลอยอยู่สักครั้ง ผักตบชวานี้ถือเป็นพืชที่ก่อปัญหาทางน้ำตัวสำคัญในไทย ด้วยความสามารถในการแพร่พันธุ์ของมัน ทำให้ลำน้ำที่มันงอกเงยอยู่นั้นเต็มพรืดไปด้วยผักตบชวาภายในเวลาไม่นาน เบียดบังพืชน้ำอื่น ๆ ให้ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้จนตายสูญไปหมด นอกจากนั้นพุ่มใบที่ดกหนาของผักตบชวายังทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถผ่านลงมาในน้ำได้ บวกกับซากเน่าเปื่อยที่หล่นร่วงลงไปในน้ำ จึงทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสียไปตาม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้หลาย ๆ คนอาจนึกไม่ถึงว่าแท้จริงแล้วผักตบชวาไม่ใช่พืชท้องถิ่นของไทย แต่เป็นพืชต่างถิ่นที่มาเติบโตแย่งชิงถิ่นที่อยู่ของพืชท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่า alien species นั่นเอง

ผักตบชวาหรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eichhornia crassipes นั้นแต่เดิมเป็นพืชท้องถิ่นในแถบอเมริกาใต้ พืชชนิดนี้ถูกนำเข้ามายังแถบเอเชียอาคเนย์ในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวฮอลันดาที่ปกครองอาณาเขตชวาอยู่ในขณะนั้น พืชชนิดนี้ถูกนำเข้าไทยมาในราวปี พ.ศ. 2439 ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสชวาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ได้ทอดพระเนตรเห็นดอกผักตบชวาแล้วนึกชมชอบในความงามของช่อดอกที่มีสัณฐานคล้ายกับกล้วยไม้ของไทย จึงมีรับสั่งให้นำกลับไปทดลองปลูกที่เมืองไทยด้วย โดยได้ทดลองปลูกผักตบชวาเป็นครั้งแรกในวังพญาไท ผลการทดลองนั้นพบว่าผักตบชวาสามารถเติบโตแพร่พันธุ์ได้ดี จึงมีดำริให้นำพันธุ์ผักตบชวานั้นปล่อยลงตามคลองนอกวัง โดยเริ่มจากคลองสามเสนเป็นแห่งแรก เพื่อที่ประชาชนทั่วไปจะได้ยลความงามของดอกผักตบชวาเยี่ยงเหล่าเจ้านายด้วย

ดอกผักตบชวา (แหล่งที่มา:https://en.wikipedia.org/wiki/Eichhornia_crassipes)

ชั่วเวลาไม่นาน ผักตบชวาที่เคยเป็นที่นิยมชมชอบก็กลับเปลี่ยนสถานะเป็นภัยต่อสังคม ดังในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีรับสั่งถึงผักตบชวาเป็น “ของร้ายกาจมาก” ในปี พ.ศ. 2543 ผักตบชวาจึงได้รับการแนะนำให้ประชาชนทั่วไปรู้จักในฐานะของ “พืชอันตรายไร้ประโยชน์ที่ต้องช่วยกันกำจัด” ถึงแม้ในสมัยรัชกาลที่ 6 จะมีการออกพระราชบัญญัติให้กำจัดผักตบชวาให้สิ้นซากก็ตาม ผักตบชวาก็ยังคงเหลือรอดตกทอดมาเป็นมรดกจนถึงทุกวันนี้


จากที่ครั้งหนึ่ง ผักตบชวาเป็นที่รู้จักกันในฐานะไม้ประดับแสนสวยที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงประทานให้ทุกผู้ชน แต่มาในวันนี้กลับเป็นที่รู้จักในฐานะ alien species ที่เป็นภัยแก่สิ่งแวดล้อมไปเสียแล้วนั่นเอง